Page 135 - kpiebook65057
P. 135
มีรายได้ไม่เพียงพอ มีครอบครัวแต่ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ มีสถาบันทางศาสนา แต่ไม่มี
คนอยากปฏิิบัติตามหลักศาสนา มีสถาบันทางสังคมทำหน้าที่คอยกล่อมเกลา
คนในสังคมแต่คนกลับไม่อยากทำหน้าที่ อาจเรียกสังคมแบบนี้ว่าเป็นสังคม
ที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมรองรับทุกอย่างแต่กลับไม่มีชีวิตชีวา
ฉากทัศน์สังคมอมทุกข์ เป็นลักษณะของสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำรุนแรง
สังคมมีความแตกแยกและความขัดแย้งที่ร้าวลึก ทั้งความแตกแยกทางความคิด
ช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ (generation gap) ผู้คนเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วน
ตนและแสวงหาวัตถุและเงิน ระบบอุปถัมภ์มีบทบาทสูงขึ้น ปราศจากการเสริมสร้าง
พลังทางสังคม ปราศจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม ประชาชนมีหนี้สินจาก
การที่รัฐเข้ามาทำให้ชนบทเป็นบ่อพักน้ำ (water reservoir society) ใช้ชนบทเป็น
กลไกการสะสมทุน และดูดทรัพยากรออกจากชนบท รวมถึงทำให้ชนบทเป็นแหล่ง
รองรับฐานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟื้ฟื้้า โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ โดยไม่มีการวางแผนรองรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ฐานทรัพยากร
ในชนบทถูกใช้ไปกับอุตสาหกรรม เกิดการขาดแคลนทรัพยากรผู้คนพึ่งพาตนเองไม่ได้
ต้องอาศัยเงินในการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคจากเมือง เป็นสังคมที่ขาดความสมดุล
อย่างรุนแรง โดยเฉพาะการที่มีเพียงการบริโภคแต่ไม่มีการผลิต ส่งผลให้ขาดความมั่นคง
ทางอาหาร ผู้คนต่างคนต่างอยู่และไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมเพื่อ
การพัฒนา แต่หันหลังให้กับการมีส่วนร่วม การไปทำบุญ และวัฒนธรรมดั้งเดิมแทบ
ไม่มีเหลืออยู่ เพราะคนในชนบทมีวิถีชีวิตแบบคนเมือง คือ ปัจเจกชนนิยม แสวงหาเงิน
และวัตถุโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง มีหนี้สิน ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องรอรับ
ความช่วยเหลือจากรัฐ สังคมอุปถัมภ์ นำไปสู่ระบบมาเฟื้ียแบบพวกพ้อง ความเป็น
ชุมชนลดลง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ มีการแย่งชิงทรัพยากร เกิดปัญหา
ทางสังคมและปัญหาสุขภาพ มีอัตราการเจ็บป�วยและการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ
เพิ่มขึ้น คุณภาพสังคมอยู่ในเกณฑ์์ต่ำ (Low social quality) (สถาบันพระปกเกล้า,
2564)
80