Page 129 - kpiebook65057
P. 129
ที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกใช้ไปกับการขายเพื่อแลกกับเงิน ปัจจุบันคนในชนบท
จึงไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อบริโภคได้ด้วยตนเองหากมีบางครัวเรือนที่ยังผลิตได้
แต่ส่วนใหญ่มักอาศัยการบริโภคอาหารแปรรูป ที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้
สุขภาพของคนในชนบทเสื่อมโทรมลง จากการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพ และ
มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การแทรกซึมเข้ามาของระบบ
ทุนนิยมอุตสาหกรรมทำให้เกิดครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวดาวกระจาย จากการ
ดูดแรงงานเข้าไปสู่อุตสาหกรรมและบริการ ทำให้ชนบทเริ่มมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
และผู้สูงอายุทำหน้าที่กล่อมเกลาเด็ก ๆ ที่ถูกนำมาฝ่ากเลี้ยงเพราะพ่อแม่ต้องออก
ไปหารายได้ในเมือง
ขณะที่ปัจจัยภายนอก เช่น โลกาภิวัตน์ ความร่วมมือทางการค้าระดับโลก
ภูมิภาค และทวิภาคี การค้าเสรี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีทางวิศวกรรม การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ นโยบายเศรษฐกิจระดับโลก และโรคระบาดใหญ่ ได้ส่งผลกระทบ
ลงไปถึงสังคมชนบท โดยโลกาภิวัตน์ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว
รวมไปถึงการค้าขายที่ทำได้แบบไร้พรมแดน การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจส่งผลต่อ
วิถีชีวิตความเป็นชนบท เนื่องจากนำความทันสมัยและระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม
เข้ามาแทนที่ระบบการผลิตแบบเกษตรกรรม ปัจจัยภายนอกทำให้การเปลี่ยนแปลง
เกิดขึ้นในอัตราเร่งที่รวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิต
ที่เริ่มไม่สมดุลมากขึ้นอันเกิดจากการรับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและวัตถุนิยมเข้ามา
การถูกกระตุ้นด้วยการโฆษณาในทีวีและสื่อออนไลน์ ทำให้ค่านิยมเริ่มเปลี่ยนไป
วัฒนธรรมแบบปัจเจกชนนิยมเข้ามาแทนที่ระบบเครือญาติที่เคยเป็นสถาบัน
ทางสังคมที่ยึดเหนี่ยวผู้คนในสังคมในชนบทเข้าด้วยกัน
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคม ชนบท ท้องถิ่นจากปัจจัยบริบท
ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกนำมาสู่ผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพของสังคม
ชนบทในปัจจุบันพบว่า ปัจจุบันสังคมชนบทได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน
อาทิ จากเดิมที่ชนบทมีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและการผลิตเพื่อบริโภค
74