Page 128 - kpiebook65057
P. 128

ในประเด็นทางเศรษฐกิจ การแผ่ขยายอิทธิพลของทุนขนาดใหญ่ที่เข้ามา
               ครอบงำระบบการผลิตอาหารและการทำอาชีพด้านเกษตรกรรมในชนบท ทำให้เกิด
               การผูกขาดราคาสินค้าเกษตร ส่งผลต่อรายได้และความมั่นคงของอาชีพเกษตรกร ทั้งนี้

               นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐที่มุ่งให้ภาคชนบทปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อตอบสนอง
               ต่อความต้องการของระบบตลาด ส่งผลให้เกษตรกรจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อนำมา

               ทำการผลิต เช่น การผลิตอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม ยางพารา ซึ่งนำมาสู่
               การมีหนี้สินครัวเรือน จากการมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่รายได้จากผลผลิตขึ้น
               กับราคาตลาดที่มีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน ผู้คนเริ่มหันหลัง

               ให้ภาคเกษตรเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ภาคชนบทยังได้รับผลกระทบ
               จากนโยบายการพัฒนาชนบทที่ทำให้ชนบทเป็นแหล่งสะสมทุนหรือบ่อพักน้ำ (water

               reservoir society)โดยรัฐส่งเสริมการลงทุนด้วยการนำเงินทุนไปส่งเสริมเศรษฐกิจ
               ชนบท ทว่าเงินทุนที่ไหลลงไปนั้นไม่ได้ถูกนำไปทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ
               เศรษฐกิจของชนบท หากแต่เป็นการออกนโยบายเพื่อนำเงินไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน

               หรือพักไว้ในชนบทแบบชั่วคราวแล้วใช้กลไกทางเศรษฐกิจดูดเงินเหล่านั้นกลับเข้าสู่
               ระบบเศรษฐกิจส่วนกลาง ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวคือกลุ่มนายทุนและ

               นักการเมืองที่มีส่วนได้เสียจากนโยบายต่าง ๆ การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ
               ภาคชนบทที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาที่พยายามช่วงชิงผลประโยชน์จากชนบท
               อาศัยชนบทเป็นบ่อพักน้ำ หรือแหล่งสะสมทุนทำให้เงินลงไปไม่ถึงคนรากหญ้า

               อย่างแท้จริง เพราะถูกดูดกลับคืนสู่มือของนายทุนรายใหญ่ ด้วยเหตุนี้ทั้งนโยบาย
               ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคชนบทที่ผ่านมา

               จึงส่งผลให้คนในชนบทเกิดปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอ
               อีกทั้ง  การพัฒนาเศรษฐกิจแผนใหญ่ยังเข้าไปทำลายความอุดมสมบูรณ์ทาง
               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมี

               นอกจากนี้การแผ่อิทธิพลเข้าไปของระบบทุนนิยมยังส่งผลต่อความแตกแยกในชุมชน
               จากการค้ำประกันเงินกู้ การเป็นหนี้นอกระบบ ทำให้ความไว้วางใจในชนบทลดลง


                        ในด้านของสุขภาพพบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากการผลิตเพื่อบริโภค

               ในครัวเรือนมาสู่การผลิตเพื่อขาย ทำให้เกิดการพึ่งพากลไกตลาด ฐานทรัพยากร




                                                  73
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133