Page 123 - kpiebook65057
P. 123

ในเมือง ม็อบมือถือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม นปช. และ
             กลุ่ม กปปส. โดยการเคลื่อนไหวมีลักษณะที่เป็นพลวัต และขบวนการการเคลื่อนไหว
             ทั้งในชนบทและในเมืองดำเนินการเคลื่อนไหวภายใต้กติกาของรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ

             ตามสิทธิเสรีภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการของการเมืองภาคประชาชน/การเมือง
             ภาคพลเมืองเป็นทางออกของการเมืองไทยได้


                     ในส่วนของการเมืองภาคพลเมืองในฐานะเป็นทางออกของการเมืองไทย

             พบว่า ลักษณะของการเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมืองทั้งในชนบทและ
             ในเมืองมีลักษณะเชิงโครงสร้าง เชิงกระบวนการและเชิงพฤติกรรม ในส่วนของ

             ลักษณะเชิงโครงสร้างสามารถสรุปได้ว่าทั้งสองขบวนการมีเป้าหมายที่ต้องการ
             เปลี่ยนหรือสร้างกติกาหรือกฎเกณฑ์์ชุดใหม่ เช่น ชาวบ้านเรียกร้องให้ภาครัฐและ
             ภาคเอกชนสร้างกติกาชุดใหม่ที่ให้เกิดการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ การสร้างกติกา

             เพื่อป้องกันการบุกรุกหรือทำลายระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             ในชุมชน ขณะที่การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมในเมือง เช่น การประท้วง

             ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ประชาชนเรียกร้องให้การเมืองแบบประชาธิปไตย
             เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือการเรียกร้องของกลุ่ม นปช. ที่ต้องการการปกครอง
             แบบประชาธิปไตย การเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรและกลุ่ม กปปส. ที่ต้องการ

             ให้เกิดการปฏิิรูปการเมืองใหม่ และการปฏิิรูปในด้านอื่นๆ


                     ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคพบว่า ภาครัฐกระทำการละเลย เพิกเฉย
             ต่อการปฏิิบัติตามรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ

             ฉบับ 2550 เช่น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การใช้สิทธิเสรีภาพ
             ในการแสดงออกทางการเมือง การปรึกษาหารือ การประท้วงเรียกร้อง การเจรจา

             ต่อรอง การระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออก เช่นเดียวกันกับภาคเอกชนที่เพิกเฉย
             ต่อข้อเรียกร้อง เช่น การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในภาคตะวันออก
             อีกทั้งยังไม่ปฏิิบัติตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 ที่กำหนดให้สิทธิเสรีภาพ

             ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง  การรับรองสิทธิมนุษยชน  และสิทธิชุมชน
             ตามมาตร 66 และมาตรา 67





                                               68
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128