Page 118 - kpiebook65057
P. 118
การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2560 อย่างไรก็ตามแม้ว่า
รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ก็อาจไม่
สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีข้อบังคับและเงื่อนไขอื่นๆ ที่ทำให้การมีส่วนร่วม
ของประชาชนถูกจำกัด และไม่สามารถมีอำนาจในการตัดสินใจทั้งในด้านการกำหนด
นโยบายและการดำเนินนโยบายได้เท่าทีควร
ลิขิต ธีรเวคิน (2546) ได้จำแนกลักษณะจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยหรือ
การมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นจิตสำนึกที่เป็นรากฐานที่สำคัญของ
การพัฒนาจิตวิญญาณและการพัฒนาระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ซึ่งบุคคลในสังคมควรได้รับการปลูกฝ่ังให้เกิดจิตสำนึกเหล่านี้อย่างยั่งยืนจนเกิดเป็น
วัฒนธรรมประชาธิปไตย สำหรับจิตสำนึกที่กล่าวนี้มีทั้งหมด 10 ประการ คือ
(1) จิตสำนึกและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย (2) จิตสำนึก
ในเรื่องเสรีภาพ (3) จิตสำนึกในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองและการคารพสิทธิของ
ผู้อื่น (4) จิตสำนึกในเรื่องเสียงส่วนใหญ่และสิทธิในเรื่องเสียงส่วนน้อย (5) จิตสำนึก
ในความเสมอภาค (6) จิตสำนึกในความยุติธรรม (7) จิตสำนึกในการคำนึงถึง
ผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ (8) จิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ เคารพกฎระเบียบ
และมีวินัย (9) จิตสำนึกในความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นและพฤติกรรมที่แตกต่าง
และ (10) จิตสำนึกในหลักนิติธรรม (จรูญศรี มาดิลกโกวิท และคณะ, 2550)
2.4 งานวัิจัยที่เกี่ยวัข้อง
2.4.1 งานวิจัยที่เกี่ยวกับพลเมือง
จรูญศรี มาดิลกโกวิท และคณะ (2550) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การจัดการศึกษา
ตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย” โดยทำการสังเคราะห์การจัดการ
ศึกษาตลอดชีวิตจากการศึกษาประสบการณ์จากประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา
63