Page 124 - kpiebook65057
P. 124
ทินพันธ์ นาคะตะ ได้ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลา
ทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ
ในช่วง 2-3 ปี ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 พบว่า นักศึกษาไทยมีทัศนคติ
ทางการเมืองแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม โดยการศึกษา พบว่า
วัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยเป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ (จรูญ หยูทอง – แสงอุทัย, 2557, อ้างใน
พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, หน้า 426) ซึ่งเกิดจาก
1) ประชาชนจำนวนมากมีความเชื่อว่าการเมืองหรือการบริหาร
ประเทศเป็นเรื่องของผู้ปกครองมากกว่าเป็นเรื่องของตนเอง
2) ประชาชนเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ และไม่เกี่ยวข้อง
กับวิถีชีวิตของตน
3) ประชาชนจำนวนมากยังสนับสนุนและยอมรับระบอบอำนาจนิยม
โดยเชื่อว่าตนเองไม่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองเหมือน
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการ นักการเมือง หรือผู้นำทางการเมือง
ทำให้ไม่อยากมีส่วนร่วมทางการเมือง
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยมีลักษณะของ
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟื้้ามากกว่าวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม ทำให้
นับตั้งแต่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาการเมือง
ไทยถูกครอบงำด้วยข้าราชการและกองทัพ (ชำนาญ จันทร์เรือง, ออนไลน์, 2559)
ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร พ.ศ. 2475 ส่วนหนึ่งเกิดจาก
กลุ่มนักเรียนไทยที่ได้รับการศึกษาในแบบตะวันตก และการได้เห็นการเปลี่ยนแปลง
และการพัฒนาของชาติที่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ชี้ว่าลักษณะของ
69