Page 62 - kpiebook65055
P. 62
62 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
4.1.2 การก�าหนดนโยบายและแผน
นโยบายและแผน เป็นสิ่งที่ส�าคัญมากต่อการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพราะภาวะมลพิษทางอากาศเกิดจากการเร่งการเติบโตทาง
เศรษฐกิจทั้งสิ้น ผู้ก�าหนดนโยบายควรต้องมีทิศทางในการพัฒนาที่ค�านึงถึงสิ่งแวดล้อม จริงอยู่ที่ปากท้อง
ของประชาชนและระบบเศรษฐกิจโดยรวมหมายถึงความอยู่รอดของประเทศ แต่การเติบโตที่ปราศจาก
การควบคุมที่เหมาะสมจนเกิดปัญหาคุณภาพอากาศส่งผลไปยังสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
ก็เปล่าประโยชน์ที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่อไป เพราะประชาชนผู้เป็นฟันเฟืองของการขับเคลื่อนการพัฒนา
ไม่มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง นโยบายของรัฐจะเป็นก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด
หากนโยบายรัฐยังคงส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเร่งการท�าให้เศรษฐกิจเติบโต โดยวัดค่าจาก GDP ที่เพิ่มขึ้น
แต่ต้องแลกมากับสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและพยายามการแก้ไขกฎหมายเพื่อรับมือกับปัญหาภาวะมลพิษ
ทางอากาศไปในเวลาเดียวกัน จึงย่อมเป็นสิ่งที่พ้นวิสัยหรือเป็นไปไม่ได้โดยแน่แท้ กล่าวคือ ในขณะที่
นโยบายในภาพรวมต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต ผู้ออกกฎหมายหรือนักนิติศาสตร์พยายามวิ่งไล่แก้ปัญหา
อันเกิดขึ้นจากการที่เศรษฐกิจเติบโต การหวังพึ่งการออกกฎหมายฉบับใหม่หรือแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่
แต่เพียงอย่างเดียวจึงไม่ใช่ทางออกของปัญหา แต่ควรต้องเริ่มจากนโยบายในการพัฒนาประเทศเสียก่อน
ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมจะต้อง
สอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รัฐมีดุลยพินิจในการพิจารณาว่านโยบายและโครงการที่เกี่ยวกับคุณภาพอากาศแบบใด
ที่จะเหมาะสมและสอดคล้องกับที่สุดกับสถานการณ์ด้านมลพิษอันเป็นลักษณะเฉพาะของประเทศ
ตน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ก�าหนดหน้าที่ของรัฐ
ในการวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหมวด 3 ว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 ว่าด้วย
การวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีบทบาทส�าคัญเป็นอย่างยิ่ง
ในการก�าหนดและให้ความเห็นชอบกับนโยบายและแผนทางด้านภาวะมลพิษทางอากาศในระดับชาติ
การจัดท�าแผนนั้นเป็นเรื่องในทางนโยบาย ซึ่งดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่ามีปัจจัยที่จะต้องค�านึงถึง
หลายประการ แต่ควรต้องให้เกิดความสมดุลขึ้นระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการคุ้มครอง
สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามแผนดังกล่าวนั้น ควรใช้หลักการจัดท�าที่มีการรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่มี
ส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ กระบวนการได้มาซึ่งนโยบายและแผนนั้น ต้องใช้แนวทางจากล่าง
ขึ้นสู่บนหรือ Bottom-up approach ควรให้ภาคส่วนทางธุรกิจ ภาคประชาสังคม และกลุ่มคนที่จะได้รับ
ผลกระทบเป็นพิเศษจากการด�าเนินธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศได้มีโอกาสแสดง
ความคิดเห็นในทุกกระบวนการในการจัดท�าแผนและนโยบาย นโยบายดังกล่าวควรเป็นกรอบกว้างๆ
เท่านั้นที่สามารถใช้ได้ทั่วประเทศ แต่ต้องเปิดช่องให้ผู้ก�าหนดนโยบายระดับท้องถิ่นสามารถออกแบบ
ได้ตรงกับเจตจ�านงของประชาชนในพื้นที่ และที่ส�าคัญ คือ กฎหมายจะต้องระบุกระบวนการในการ
มีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายและแผนให้ชัดเจน