Page 64 - kpiebook65055
P. 64
64 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
4.1.3 มาตรการทางกฎหมายและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
สิ่งที่ควรด�าเนินการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายอย่างเร่งด่วน 3 ประการ คือ
ประการแรก การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป (ambient air quality
standards (AAQS)) โดยพิจารณาจากแนวทางที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก แม้ในปัจจุบันคณะกรรมการ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติก�าหนดมาตรฐานฝุ่นละออง PM ใหม่ให้เข้มงวดขึ้น กล่าวคือ จากเดิม
2.5
ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ปรับเปลี่ยนเป็น
37.5 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยรายปี จากเดิม 25 มคก./ลบ.ม. เป็น 15 มคก./ลบ.ม. แต่ค่าดังกล่าว
ก็ยังคงไม่สอดคล้องกับค�าแนะน�าขององค์การอนามัยโลก กล่าวคือ ค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก
แนะน�าส�าหรับมาตรฐานฝุ่นละออง PM ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ค่ามาตรฐานไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อ
2.5
ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และค่าเฉลี่ยรายปี 5 มคก./ลบ.ม. การปรับให้เข้มงวดนั้น ควรด�าเนินการ
แบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประการที่สอง ควรก�าหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในอาคาร ซึ่งในกรณีหลังนี้ ประเทศไทย
ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้มาก่อน แต่มีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องด�าเนินการออกกฎหมายอย่างเร่งด่วน
เนื่องจากมีประชาชนจ�านวนมากที่ท�างานหรือท�ากิจกรรมอยู่ในอาคารที่โดยสภาพมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
ประการที่สาม ควรเร่งด�าเนินการปรับปรุงกฎหมายเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการก�าหนด
ค่าสารก่อมะเร็งโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs))
จากแหล่งก�าเนิดมลพิษต่าง ได้แก่ คลังน�้ามันเชื้อเพลิง โรงงาน อีกทั้งต้องปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับ
การควบคุมสารอินทรีย์ย่อยสลายยากที่ตกค้างยาวนาน (persistent organic pollutants (POPs)) เช่น
การก�าหนดมาตรฐานของสารไดออกซิน/ฟูแรน ในอากาศด้วย
นอกจากการก�าหนดมาตรฐานทางกฎหมายเพื่อควบคุมการปล่อยสารมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม
แล้ว ยังคงต้องปรับปรุงกลไกการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งในปัจจุบันนั้นมีข้อวิจารณ์ถึง
ความย่อหย่อนขององค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ ต้องสืบหาสาเหตุของการไม่บังคับใช้กฎหมายของ
หน่วยงานรัฐ ซึ่งอาจเป็นปัญหาด้านงบประมาณและก�าลังคน หรืออาจเป็นเพราะการละเว้นการไม่ปฏิบัติ
ตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ หากพบว่ากลไกแบบเดิมไม่เหมาะสมกับการก�ากับดูแล ควรต้องใช้วิธีการแบบใหม่
ที่นอกเหนือไปจากวิธีการที่เรียกกันว่า command and control บางครั้งมีการเรียกแนวทางในการก�ากับดูแล
แบบนี้ว่าการก�ากับดูแลด้วยการใช้กฎเกณฑ์และการยับยั้ง หรือ rules and deterrent ซึ่งเป็นรูปแบบปกติ
ของการก�ากับดูแลโดยใช้อ�านาจรัฐตรวจตราการปฏิบัติตามกฎหมายของเอกชนผู้ประกอบการและ
ผู้ก่อมลพิษอื่นๆ