Page 60 - kpiebook65055
P. 60

60      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             4.1 การบริหารจัดการในเชิงป้องกัน



                      การบริหารจัดการในเชิงป้องกันนั้น เป็นกรณีที่คุณภาพอากาศยังไม่เกินค่ามาตรฐาน ประกอบไปด้วย

             การบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนี้



                     4.1.1 การบริหารข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ


                      ข้อมูล คือ หัวใจหลักของการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ หากปราศจากข้อมูลที่ถูกต้อง

             แท้จริงแล้ว ก็ยากที่จะด�าเนินการในเรื่องอื่นๆ ได้ นอกจากนั้นข้อมูล คือ ปัจจัยที่ส�าคัญที่สุดในการก�าหนด
             ภูมิทัศน์ในเชิงสถาบันเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น กฎเกณฑ์ทางกฎหมายหลายฉบับ

             ก�าหนดให้บริษัทอุตสาหกรรมหลายแห่งรายงานต่อสาธารณะเกี่ยวกับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายที่ได้
             ปล่อยออกมาหรือได้เก็บไว้ที่โรงงานของตน เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติมเพิ่มมากขึ้น ชุมชนและกลุ่มผู้สนับสนุน

             อื่นๆ ก็เริ่มใช้ประโยชน์จากการมีข้อมูลดังกล่าวด้วยการเผยแพร่ไปยังสาธารณะเพื่อสร้างแรงกดดันให้
             กับบริษัทต่างๆ ผนวกกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตในช่วงปีคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และ

             2000 ท�าให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าถึงได้ทั่วไปและเผยแพร่ไปได้ในวงกว้างมากกว่าเดิม
             การบริหารจัดการข้อมูลจึงต้องพิจารณาในแง่มุม ดังต่อไปนี้




                      ประการแรก การได้มาซึ่งข้อมูล การได้มาซึ่งข้อมูลจากแหล่งก�าเนิดมลพิษทางอากาศต่างๆ นั้น
             เป็นเรื่องที่ควรต้องด�าเนินการอย่างเป็นระบบ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ การเผาในที่โล่งแจ้ง

             หรือแม้แต่การปล่อยมลพิษจากการประกอบอาหารที่ใช้ฟืนหรือถ่านเป็นเชื้อเพลิง จะต้องปรับปรุงระบบ
             กฎหมายในการรายงานการปล่อยมลพิษจากแหล่งก�าเนิดที่ส�าคัญๆ ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจวัดที่เชื่อถือได้

             เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นย�าที่สุด สอดคล้องกันในทุกภาคส่วน ความไม่สอดคล้องกันระหว่างข้อมูลที่เป็นทางการ
             และข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน และสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิของ

             ประชาชนในข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศได้ นอกจากนั้น ควรมีการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัด
             คุณภาพอากาศที่ติดตั้งตามสถานที่ซึ่งจะต้องมีปริมาณมากพอและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากพอที่จะให้

             ค่ามลพิษที่เที่ยงตรง เช่น การติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับมลพิษทางอากาศบนโทรศัพท์มือถือ โดรน และ
             ยานพาหนะของหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงประชาชน ชุมชน และภาคธุรกิจ การโยงใยเครือข่ายของ

             อุปกรณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน ผนวกกับข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมและการสร้างแบบจ�าลอง ย่อมสามารถ
             ช่วยระบุ hotspots ของมลพิษทางอากาศได้ สิ่งที่ส�าคัญ คือ รัฐต้องจัดตั้งเครือข่ายในการเฝ้าระวังและ

             ตรวจสอบคุณภาพอากาศและผลกระทบทางด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
             ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในพื้นที่เขตเมืองหรือพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะมลพิษทางอากาศ
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65