Page 61 - kpiebook65055
P. 61
61
ประการที่สอง การประเมินข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลคุณภาพอากาศมาแล้ว กฎหมายควรระบุ
ให้มีเกณฑ์ในการประเมินข้อมูลโดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลหรือตามดัชนีคุณภาพอากาศของ
องค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินมีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเกี่ยวกับการแปลผลออกมาว่า
คุณภาพอากาศสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ในกรณีที่พื้นที่ใดต�่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน
หน่วยงานรัฐจะเป็นผู้ด�าเนินมาตรการต่อไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในปัจจุบันนั้นมีประกาศกรมควบคุม
มลพิษ เรื่อง ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นเกณฑ์การประเมิน
โดยมีการจ�าแนกระดับ
ประการที่สาม การเผยแพร่ข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของสาธารณชนเป็นหัวใจ
ส�าคัญในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบของรัฐบาล ท�าให้เกิดการมีส่วนร่วมของสาธารณะ
อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น กฎหมายต้องก�าหนดวิธีการ
และรูปแบบของการแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบถึงคุณภาพอากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง มุ่งเผยแพร่
ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงรุก ซึ่งต้องค�านึงช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ที่ไม่ควรใช้
ช่องทางเดียว แต่ควรเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับคนทุกวัยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ หรือวิธีการต่างๆ ที่สะดวก
รวดเร็ว และเป็นมิตรกับผู้รับข้อมูล อีกทั้ง ต้องค�านึงถึงเนื้อหาที่จะสื่อสารออกไป ควรจะเป็นการสื่อสารด้วย
ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ชัดเจนเพียงพอโดยไม่ต้องอาศัยการตีความ และสามารถเข้าถึงได้ส�าหรับคนทุกกลุ่ม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา คนพิการ และกลุ่มชาติพันธุ์ สิ่งที่ต้องให้ความส�าคัญ คือ ช่วงเวลาในการ
เผยแพร่ข้อมูล ควรจะต้องพิจรณาถึงระดับความเสี่ยงและช่วงเวลาเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง
ควรเพิ่มระยะเวลาในการแจ้งให้ถี่ขึ้นกว่าช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต�่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ
กรมควบคุมมลพิษ โดยอาศัยอ�านาจตามความในข้อ 2 (4) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุม
มลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 ที่ก�าหนดหน้าที่ “ติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดท�ารายงานสถานการณ์มลพิษ” กรมควบคุมมลพิษสามารถใช้
กฎกระทรวงฉบับนี้เป็นฐานในการออกประกาศก�าหนดรายละเอียดต่างๆ ของการรายงานได้
ประการที่สี่ การจัดเก็บข้อมูล กฎหมายควรระบุให้มีการจัดท�าฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษ และ
การเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบ หรือพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของราชการ พ.ศ. 2540 โดยข้อมูลที่ต้องจัดเก็บนั้น ควรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเองหรือ
หน่วยงานรัฐอาจมีการจัดท�ารายงานให้ประชาชนทราบทุกหกเดือนหรือหนึ่งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชน
ที่อยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะมลพิษทางอากาศต้องมีการรายงานอย่างสม�่าเสมอ
เพื่อให้ประชาชนได้เฝ้าระวัง