Page 66 - kpiebook65055
P. 66

66      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             4.2 การบริหารจัดการในสถานการณ์ที่เกิดภาวะมลพิษ

             ทางอากาศในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง



                      ในหัวข้อนี้ เป็นข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการในสถานการณ์ที่เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ

             ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง โดยที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน ประกอบไปด้วย

             การบริหารจัดการในด้านต่างๆ เช่น ควรมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่า ภาวะมลพิษทางอากาศต้อง
             รุนแรงระดับใด จึงจะเรียกว่า “สาธารณภัย” หรือการก�าหนดจุดเริ่มต้น (threshold) สถานการณ์
             ที่เกิดภาวะมลพิษทางอากาศในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง เพราะนิยามตามกฎหมาย

             ไม่ได้ระบุชัดว่าภัยนั้นต้องเกิดขึ้นมาแล้วกี่วัน การก�าหนดเช่นนี้จะเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานรัฐเร่งด�าเนินการ

             แก้ไขสถานการณ์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งต้องประกาศเป็นพื้นที่
             ที่ก�าลังประสบกับสาธารณภัย กฎหมายควรก�าหนดวิธีการรับมือกับสาธารณภัยให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
             อ�านาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ

             ผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นๆ


                      ส�าหรับบุคคลที่เปราะบาง เช่น เด็ก คนชรา ผู้มีโรคประจ�าตัว คนท�างานกลางแจ้ง จ�าเป็นที่รัฐ
             จะต้องออกแบบมาตรการที่เหมาะสมส�าหรับบุคคลแต่ละประเภท เช่น มาตรการเกี่ยวกับการเรียนของ

             นักเรียนในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มาตรการปกป้องผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจ�าตัว
             เพื่อให้เข้าถึงอุปกรณ์ในการป้องกันสุขภาพ นอกจากนั้น ควรพิจารณาถึงการจัดสรรงบประมาณ และ

             ก�าลังคนในการด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์ เช่น การใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน
             และอาสาสมัครที่เป็นประชาชนทั่วไป ซึ่งควรต้องสร้างแรงจูงใจอื่นๆ ในการช่วยเหลือเจ้าพนักงานด้วย






             4.3 การบริหารจัดการภายหลังจากสถานการณ์


             ที่เกิดภาวะมลพิษทางอากาศในระดับที่ส่งผลกระทบ

             ต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงสิ้นสุดลง




                      การบริหารจัดการในสถานการณ์ภาวะมลพิษทางอากาศในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ
             อย่างร้ายแรงสิ้นสุดลงแล้ว ควรต้องประกอบไปด้วยการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนี้


                      ประการแรก ช่องทางการเยียวยาความเสียหาย เนื่องจากการที่รัฐไม่ด�าเนินการรักษาคุณภาพ

             อากาศให้ได้มาตรฐานจนเป็นเหตุให้สภาพแวดล้อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง เป็นกรณีที่
             รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน หากมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจ�านวนมาก ระบบกฎหมายจะต้อง

             อ�านวยความสะดวกให้กับประชาชนในการด�าเนินคดีแบบกลุ่ม พร้อมทั้งต้องออกแบบกลไกในการช่วยเหลือ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71