Page 65 - kpiebook65055
P. 65

65







                          รูปแบบดังกล่าวนี้ท�าให้เอกชนผู้ประกอบการจึงขาดแรงจูงใจที่จะคิดค้นนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆ

                  เพื่อลดมลพิษทางอากาศ จึงได้แต่ปฏิบัติตามที่กฎหมายก�าหนดเอาไว้แต่เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
                  ที่ตนจะพ้นจากความรับผิด ดังนั้น ควรสร้างแรงจูงใจและสร้างกระบวนการที่จะเหนี่ยวน�าให้คนประเมิน

                  การกระท�าของตนเองอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับ
                  เป้าหมายของสังคม เช่น สร้างมลพิษน้อยลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือปกป้องชนิดพันธุ์ที่เสี่ยงต่อ

                  การสูญพันธุ์


                          ประการส�าคัญของการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ การก�าหนดปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
                  รัฐบาลและเอกชนผู้ประกอบการใหม่ โดยท�าให้เส้นแบ่งระหว่างความเป็นรัฐและเอกชนนั้นค่อยๆ จางลงไป

                  เป็นความสัมพันธ์ที่ลื่นไหลและแทรกแซมกลมกลืน รัฐบาลจะปฏิสัมพันธ์กับเอกชนผู้ประกอบการในลักษณะ
                  ของการมีล�าดับชั้นน้อยลง (hierarchical relationship) แต่รัฐบาลจะมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงร่วมมือ (collaborative)

                  และในเชิงสื่อสารกัน (communicative) มากยิ่งขึ้น รัฐก�ากับดูแลเอกชนโดยใช้อ�านาจของตนน้อยลงและ
                  ปฏิสัมพันธ์กับตัวแสดงอื่นๆ มากขึ้น เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในแนวระนาบ

                  มากกว่าความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง ระบบที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง (state-centered model) หรือระบบราชการ
                  ไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐต้องเป็นผู้ชี้แนะแนวทางโดย

                  ลดการใช้กฎหมายเพื่อก�าหนดให้ประชาชนต้องด�าเนินการไปในทางใดทางหนึ่งอย่างเคร่งครัด ปิดโอกาส
                  ให้ผู้ถูกก�ากับดูแลได้ใช้ดุลยพินิจของตนเอง แต่กฎหมายควรสร้างบรรยากาศหรือเงื่อนไขในการเหนี่ยวน�า

                  ให้เอกชนด�าเนินการในสิ่งที่ควรจะเป็น



                          4.1.4  มาตรการส่งเสริม


                          มาตรการส่งเสริมมีหลากหลายรูปแบบ และข้อเสนอแนะที่สามารถท�าได้ทันที คือ การพิจารณา

                  มาตรการส่งเสริมที่อยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เช่น
                  มาตรการทางภาษี/อากรขาเข้า ส�าหรับการน�าเข้าเครื่องมือ เครื่องจักรส�าหรับบ�าบัดอากาศเสีย และมาตรการ

                  ทางด้านภาษีที่อยู่ในกฎหมายฉบับต่างๆ เช่น การลดอัตราการภาษีเงินได้ส�าหรับผู้ประกอบการที่พิสูจน์ได้ว่า
                  มีการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศหรือผู้ประกอบการที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดหรือการน�า

                  ชีวมวลที่เหลือจากการเพาะปลูกและท�าการเกษตรกรรมมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อลดการเผาในที่โล่งแจ้ง
                  เป็นต้น
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70