Page 56 - kpiebook65055
P. 56

56      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







                      การที่ต้องใช้กฎหมายหลายฉบับประกอบกันนั้น มักมีข้อวิจารณ์ถึงเรื่องการบูรณาการการท�างาน

             ของภาคส่วนราชการและปัญหาทางด้านงบประมาณ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไข
             ได้ด้วยวิธีการในการบริหารจัดการ ซึ่งเหมาะสมยิ่งกว่าการร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา

             แต่ควรหาช่องทางตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เพื่อบริหารจัดการข้อขัดข้องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอ�านาจ
             ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่สามารถก�าหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสาน

             งานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
             สิ่งแวดล้อมตามมาตรา 13 (11) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้

             ค�าว่า “มาตรการ” นั้นอาจก�าหนดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น นโยบาย แนวปฏิบัติ หรือแม้แต่ประกาศ
             คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็ย่อมสามารถท�าได้






             3.6 กองทุนสิ่งแวดล้อม




                      กองทุนสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการรูปแบบหนึ่งส�าหรับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
             โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษทางอากาศ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

             มีบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยเรื่องกองทุนสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ จ�านวนทั้งสิ้น 10 มาตรา ประกอบ
             ไปด้วยเรื่องต่างๆ ที่ส�าคัญ เช่น ที่มาของเงินและทรัพย์สินในกองทุน องค์ประกอบของคณะกรรมการ

             กองทุน อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน เป็นกลไกที่มีอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติ ร่างกฎหมาย
             ที่เกี่ยวกับอากาศสะอาดฉบับต่างๆ มักมีการเสนอให้จัดตั้งกองทุนในลักษณะเดียวกันกับกองทุนสิ่งแวดล้อม

             เพียงแต่มีการก�าหนดรายละเอียดที่เพิ่มเติมในบริบทของการบริหารจัดการเรื่องการป้องกันและคุ้มครอง
             ภาวะมลพิษทางอากาศเป็นการเฉพาะเท่านั้น การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัย

             มากยิ่งขึ้นและให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการบริหารจัดการกองทุนย่อมสามารถท�าได้ด้วยการปรับปรุง
                                                                                                      83
             บทบัญญัติในหมวด 2 มากกว่าการจัดตั้งกองทุนใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอากาศสะอาด
             ซึ่งในกรณีหลังนี้จะต้องอธิบายให้ได้ว่านอกจากบริบทเฉพาะในเรื่องของภาวะมลพิษทางอากาศแล้ว
             มีเหตุผลใดที่จะต้องตั้งกองทุนเฉพาะดังกล่าวขึ้นและมีเหตุผลใดที่การแก้ไขบทหมวด 2 พระราชบัญญัติ

             ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นวิธีการที่เป็นไปไม่ได้จึงต้องออกพระราชบัญญัติ
             ฉบับใหม่เท่านั้น









             83   ดู ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, การศึกษาแนวทางการปฏิรูปกองทุนสิ่งแวดล้อมรองรับแผนการปฏิรูปประเทศด้าน
             ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ สกสว 2562)
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61