Page 54 - kpiebook65055
P. 54
54 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
อ�านาจของคณะกรรมการอันเกี่ยวเนื่องกับการออกกฎหมายและการแก้ไขกฎหมายนั้น
มีความครอบคลุมและยืดหยุ่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก�าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศนั้นสามารถ
ปรับเปลี่ยนได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ว่ามาตรฐานเดิมนั้นไม่เหมาะสมอีกต่อไป กล่าวคือ การใช้มาตรฐานเดิมนั้น
จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายของประชาชน นอกจากนั้น ยังสามารถก�าหนดให้พื้นที่
ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะมลพิษทางอากาศเป็นพิเศษเป็นเขตควบคุมมลพิษได้อีกด้วย ซึ่งจากค�าพิพากษา
ของศาลปกครองเชียงใหม่ได้ให้ความกระจ่างแล้วว่า หากพื้นที่ใดเป็นเขตที่ต้องได้รับการดูแลคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมทางอากาศเป็นพิเศษ ก็ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประกาศ
เป็นเขตควบคุมมลพิษ
กล่าวโดยสรุป อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทั้งในเรื่องนโยบายและ
กฎหมายนั้น ถือได้ว่ามีความครอบคลุมที่จะแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศได้ มีข้อเสนอแนะจาก
หลายภาคส่วนให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาเฉพาะเพื่อท�าหน้าที่ในการก�ากับดูแลเรื่องอากาศ
สะอาด ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่เสนอ ประเด็นคือ หากประสงค์
ให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติชุดใหม่ขึ้นจะก�าหนดอ�านาจหน้าที่ไม่ให้ซ�้าซ้อนกับอ�านาจของ
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ได้อย่างไร และหากจ�าเป็นจะต้องมีคณะกรรมการเฉพาะว่าด้วยเรื่องอากาศสะอาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และไม่ต้องการพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ก็ต้องสามารถอธิบาย
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการชุดใหม่และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ได้อย่างชัดเจน
เพียงพอ ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่าอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น
มีความครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้มีอ�านาจเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมาย
หากคณะกรรมการเห็นว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอากาศสะอาดยังไม่เพียงพอหรือกลไกต่างๆ ที่จะท�าให้
อากาศสะอาดได้นั้นยังคงต้องได้รับการปรับปรุง คณะกรรมการสามารถเสนอให้มีกฎหมายล�าดับรอง
เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องอากาศสะอาดได้ ทั้งนี้ ไม่มีความจ�าเป็นอันใดที่จะต้องสร้างเป็นพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยเรื่องอากาศสะอาดขึ้นมาเฉพาะ
3.5 การก�ากับดูแลคุณภาพอากาศระดับจังหวัด
โดยปกติแล้ว จังหวัดในประเทศไทยเกือบทั้งหมดมักจัดท�า “แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด” ซึ่งเป็นอ�านาจของผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นตามมาตรา 37 วรรค 3
เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รายละเอียดที่จะต้องก�าหนดเอาไว้
ในแผนนั้นเป็นไปตามที่มาตรา 38 ได้ก�าหนดไว้ เช่น แผนการควบคุมมลพิษจากแหล่งก�าเนิด แผนการตรวจสอบ
ติดตาม และควบคุมการปล่อยของเสียจากแหล่งก�าเนิด และที่ส�าคัญคือแผนการบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อป้องกันและปราบปรามการละเมิด และการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ การอนุรักษ์