Page 55 - kpiebook65055
P. 55

55







                  ทรัพยากรธรรมชาติ หรือในกรณีที่อาจมีจังหวัดใดไม่จัดท�าแผนดังกล่าว หรือจัดท�าแล้วแต่ไม่ได้รับ

                  ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หากมีกรณีที่จ�าเป็นเพื่อการด�าเนินการอย่างหนึ่ง
                  อย่างใดในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรง ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อ

                  นายกรัฐมนตรีเพื่อออกค�าสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้จัดท�าแผนปฏิบัติการ
                  ส�าหรับจังหวัดนั้นแทนตามมาตรา 41


                          จากบทบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เป็นอ�านาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการจัดท�า

                  แผนระดับจังหวัด โดยมีส�านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะ
                  หน่วยงานหลักในการรวบรวมและวิเคราะห์แผนปฏิบัติการ ฯ ในระดับจังหวัดมีบทบาทส�าคัญเรื่องนี้

                  แต่ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท�าแผนดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่
                  ต้องปรับปรุงแก้ไขในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แต่อย่างไรก็ตาม

                  ในทางปฏิบัติมีกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จ�านวนหนึ่งที่ก�าหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็น
                  ของประชาชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ระเบียบส�านัก

                  นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548


                          ในกรณีที่มีภาวะมลพิษทางอากาศในระดับจังหวัดเกิดขึ้น นอกจากจะสามารถด�าเนินการตาม
                  พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในกรณีที่ภาวะมลพิษทางอากาศนั้น
                  มีความรุนแรงถึงขั้นจะเป็นสาธารณภัยได้ตามนิยามที่ก�าหนดอยู่ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน

                                                82
                  และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550  กฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย
                  ขึ้นในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้ผู้อ�านวยการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  แห่งพื้นที่นั้นมีหน้าที่เข้าด�าเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้อ�านวยการอ�าเภอ
                  ที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่นั้นและผู้อ�านวยการจังหวัดทราบทันที ตามมาตรา 21 และให้ด�าเนินการตามที่

                  กฎหมายบัญญัติเอาไว้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายเรื่องการรับมือกับภาวะมลพิษทางอากาศนั้นจะต้องพึ่งพา

                  กฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะกฎหมายที่เกี่ยวกับการก�ากับดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด
                  หรือท้องถิ่นนั้นไม่ได้มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติในลักษณะครอบคลุมและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
                  ทุกเรื่องในกฎหมายฉบับเดียว อีกกรณีหนึ่งที่มักเกิดปัญหาอยู่เสมอ คือ หากมีการจุดไฟเผาในที่โล่งแจ้ง เช่น

                  การเผาเศษวัชพืช การเผาวัสดุทางการเกษตร ก็อาจต้องใช้บังคับประกาศของท้องถิ่นที่ออกตามความ

                  ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25 (4) ว่าด้วยเรื่องการก่อความเดือดร้อนซึ่งถือว่า
                  เป็นเหตุร�าคาญ อันเนื่องมาจากการกระท�าใดๆ ให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ฝุ่น ละออง
                  เขม่า เถ้า จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถออกค�าสั่ง

                  ให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุร�าคาญนั้นได้ ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามค�าสั่งจะมีโทษทางอาญา



                  82   “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น�้า
                  การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ท�าให้เกิดขึ้น
                  อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน
                  หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60