Page 50 - kpiebook65055
P. 50

50      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             มีพระราชบัญญัติฉบับใหม่มีความเฉพาะเจาะจงในเรื่องเกี่ยวกับภาวะมลพิษทางอากาศมากกว่า และ

             พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นเพียงแค่กฎหมายทั่วไป
             ที่วางกรอบในเชิงหลักการเท่านั้น ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถออกกฎหมาย

             ล�าดับรอง ก�าหนดรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามความในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติฉบับเดิมได้
             เช่นเดียวกัน




                     3.3.2 สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการก�าหนดนโยบาย
             และออกกฎหมายเกี่ยวกับภาวะมลพิษทางอากาศ


                      ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายและออกกฎหมายที่เกี่ยวกับภาวะมลพิษ

             ทางอากาศ ตามมาตรา 57 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า รัฐต้องอนุรักษ์
             คุ้มครอง บ�ารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

             สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ “ต้องให้
             ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด�าเนินการ… จากการด�าเนินการดังกล่าวด้วยตามที่

             กฎหมายบัญญัติ” การมีส่วนร่วมดังกล่าว ต้องพิจารณาถึงกฎหมายเฉพาะด้วย นอกจากนั้น ในมาตรา 77
             วรรคสอง ก�าหนดว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง”

             และให้รัฐน�าความคิดเห็นที่ได้ “มาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน” ซึ่งตาม
             แนวปฏิบัติแล้วกฎหมายล�าดับรองทุกฉบับที่ออกโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้อง

             รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ต่อไป


                      ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายนั้น มาตรา 65 วรรคสองบัญญัติว่า
             “การจัดท�า การก�าหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติ

             ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับ
             การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย”




                     3.3.3 สิทธิที่จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตโครงการ


                      สิทธิที่จะรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตโครงการนั้น ได้รับการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง
             ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 58 วรรค 1 ที่บัญญัติว่า “การด�าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาต

             ให้ผู้ใดด�าเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย
             คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส�าคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้อง

             ด�าเนินการให้มีการศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
             หรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน

             เพื่อน�ามาประกอบการพิจารณาด�าเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ” การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55