Page 45 - kpiebook65055
P. 45

45





                          ดัชนีคุณภาพอากาศ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ดัชนี

                  คุณภาพอากาศของประเทศไทย ลงวันที่ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 เพื่อรายงานสถานการณ์มลพิษ
                  ทางอากาศต่อประชาชนและเพื่อเป็นแนวทางในการบ่งชี้และเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ กฎหมายฉบับนี้ระบุว่า

                  ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนของคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของ
                  สารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM ) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน
                                                                                     2.5
                  10 ไมครอน (PM ) ก๊าซโอโซน (O ) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO )
                                 10              3                                                        2
                  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO ) นอกจากนั้นในข้อ 2 ก�าหนดให้แบ่งดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
                                           2
                  ออกเป็น 5 ระดับการแจ้งเตือน คือ คุณภาพอากาศดีมาก คุณภาพอากาศดี คุณภาพอากาศปานกลาง
                  คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก กฎหมายฉบับนี้

                  ยังระบุถึงบุคคลที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ซึ่งต้องเฝ้าระวังตนเองเป็นพิเศษหากมีคุณภาพอากาศตั้งแต่
                  ปานกลางขึ้นไป ซึ่งได้แก่ ประชาชนท่ีมีความอ่อนไหวต่อมลพิษทาง อากาศ และควรต้องดูแลสุขภาพ

                  เป็นพิเศษ ได้แก่ เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ คนชรา หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยและผู้มีโรคประจ�าตัว ดัชนีคุณภาพ
                  อากาศตามมาตรฐานของ โดยมีค�าแนะน�าประกอบ เช่น ลดหรืองดท�ากิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมทั้งระบุ

                  อาการที่พบได้เมื่อคุณภาพอากาศย�่าแย่ลงไปในแต่ละระดับ พร้อมกันนั้นยังได้ก�าหนดวิธีการค�านวณดัชนี
                  คุณภาพอากาศและตารางเทียบค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศส�าหรับค�านวณดัชนีคุณภาพ

                  อากาศ


                          มีข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายอากาศเกี่ยวกับอากาศสะอาดต่างๆ ได้เสนอให้มีการก�าหนด
                  มาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาดโดยคณะกรรมการชุดหนึ่ง ในท�านองเดียวกันกับอ�านาจหน้าที่ของ

                  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                  พ.ศ. 2535 ความแตกต่างอาจจะอยู่ในประเด็นเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการที่ร่างพระราชบัญญัติ

                  มักเสนอให้มีการผู้แทนภาคประชาสังคมหรือประชาชนเข้ามามีบทบาทในการก�าหนดเกณฑ์คุณภาพ
                  อากาศด้วย ข้อห่วงกังวล คือ หากมีการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติ จะจัดการกับปัญหาความซ�้าซ้อน

                  ของอ�านาจหน้าที่นี้อย่างไร


                          ส่วนในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายนั้น ปัจจุบันมีการเปิดรับฟัง
                  ความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับต่างๆ อยู่แล้ว แต่อาจจะต้องปรับปรุงให้ภาคประชาชน ชุมชน

                  ของนักวิทยาศาสตร์ เข้ามามีบทบาทในเชิงรุกมากขึ้นก่อนออกกฎหมายฉบับต่างๆ โดยหน่วยงานรัฐ
                  ผู้ออกกฎหมายมีหน้าที่ต้องรับฟังความคิดเห็นและน�าความคิดเห็นดังกล่าวไปเป็นองค์ประกอบหนึ่ง

                  ในการตัดสินใจก�าหนดมาตรฐานตามกฎหมาย
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50