Page 46 - kpiebook65055
P. 46

46      การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด







             3.2 ประเทศไทยมีกฎหมายรับรองสิทธิในอากาศสะอาด

             หรือไม่



                      จากการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและกฎหมายอื่นๆ พบว่า

             ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่บัญญัติรับรองสิทธิในอากาศสะอาดโดยตรง เหมือนดังเช่น กฎหมายระดับ

             มลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาที่รับรองสิทธิในอากาศบริสุทธิ์ ได้แก่ รัฐธรรมนูญของมลรัฐเพนซิลเวเนีย
             (Constitution of Pennsylvania) ที่ระบุว่าใน Article 1, Section 27 “The people have a right to clean
             air, pure water, and to the preservation of the natural, scenic, historic and esthetic values of the

                           80
             environment.”  ส่วนรัฐธรรมนูญของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ (Constitution of Massachusetts) Article
             XLIX ระบุว่า “The people shall have the right to clean air and water, freedom from excessive and
             unnecessary noise, and the natural, scenic, historic, and esthetic qualities of their environment.” 81


                      ประเด็นที่ตามมาคือ ในเมื่อไม่มีการรับรองสิทธิดังกล่าวแล้วจะถือว่าประชาชนไม่มีสิทธิ
             ในอากาศสะอาดหรือไม่ และหากรัฐปล่อยปละละเลย ไม่ก�ากับดูแลการด�าเนินการของเอกชนผู้ก่อมลพิษ

             ทางอากาศ ตลอดจนไม่มีมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประชาชนผู้ที่ต้องได้รับความเดือดร้อน
             จากภาวะมลพิษทางอากาศ “รัฐจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบและไม่ถือว่าละเมิดสิทธิของประชาชน

             อันพึงมีพึงได้หรือไม่” เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิในอากาศสะอาด ต่อค�าถามที่ตั้งมาข้างต้นนั้น
             จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้กฎหมายไม่ได้บัญญัติรับรองเอาไว้ก็ตาม แต่การที่รัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือ

             ปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์จนเป็นเหตุให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายและชีวิตความเป็นอยู่ของ
             ประชาชนในรัฐ ย่อมเป็นการที่รัฐกระท�าการหรือละเว้นไม่กระท�าการเพื่อคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชน

             ถือได้ว่ารัฐก�าลังละเมิดสิทธิในชีวิต สิทธิในสุขภาพ และสิทธิของกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก เป็นต้น ทั้งนี้
             เพราะเหตุว่ารัฐมีหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องเคารพ

             สิทธิมนุษยชนดังกล่าว การที่ไม่บัญญัติรับรองสิทธิในอากาศสะอาดเป็นการเฉพาะ ไม่เป็นการขัดขวางให้
             ประชาชนใช้สิทธิอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะมลพิษเพื่อเรียกร้องให้รัฐด�าเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง

             ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อการหายใจ อันเป็นหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติ
             อยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายมาตรา เช่น มาตรา 28 (สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย)

             มาตรา 55 (สิทธิของประชาชนในการได้รับบริการสาธารณสุข) และมาตรา 71 วรรค 3 (สิทธิของเด็ก)
             และบทบัญญัติที่ส�าคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการจัดการกับ

             ปัญหามลพิษทางอากาศด้วย คือ มาตรา 57 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า รัฐต้อง “อนุรักษ์ คุ้มครอง บ�ารุงรักษา
             ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ

             ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน” กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
             สามารถตีความให้รวมถึงสิทธิในอากาศสะอาดด้วยคือ มาตรา 5 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550


             80   PA. CONST. art. I, § 27
             81   MASS. CONST. art. XLIX.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51