Page 49 - kpiebook65055
P. 49
49
(9) รายงานการตรวจสอบผลการด�าเนินงานที่มีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และสุขภาพ รวมทั้งการด�าเนินการตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ซึ่งต้อง
ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายหรือเงื่อนไขที่ก�าหนดไว้ส�าหรับการอนุญาต
หรืออนุมัติ เช่น รายงานผลการตรวจสอบการบ�าบัดน�้าเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
หรือรายงานการตรวจสอบอื่นที่มีลักษณะเป็นท�านองเดียวกัน
(10) รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดวางหรือจัดท�าผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะในแต่ละระดับ
รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดท�ารายงานดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม
(11) สัญญา สัมปทาน ใบอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือการด�าเนินการที่มีผล
หรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพหรือสังคม รวมทั้งสัญญา สัมปทาน หรือ
ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วย
(12) กรอบการเจรจา ร่างความตกลง และหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งกรอบการเจรจา ร่างความตกลง และหรือข้อตกลง
ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการใช้ หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และ
รวมตลอดถึงผลการด�าเนินการตามพันธกรณีที่เกี่ยวข้องด้วย
(13) นโยบาย แผนการ โครงการ และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการด�าเนินการ
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
(14) รายงานประชุมและมติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งผลกระทบต่อสังคม
ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งหรือจัดให้มีขึ้นตามกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี
(15) ข้อมูลข่าวสารและหรือรายงานที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ของสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
(16) ข้อมูลข่าวสารอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลในเชิงสถิติ แผนที่ และอื่นๆ
ดังนั้น กฎหมายไทยในปัจจุบันนั้นถือว่าให้สิทธิกับบุคคลอย่างเพียงพอในการที่จะได้รับทราบ
ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะมลพิษทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ประชาชนต้อง
ร้องขอ มิใช่เป็นข้อมูลที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาด้วยตนเอง
การติดต่อกับหน่วยงานราชการในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่สิ่งที่กระท�าได้โดยง่ายเพราะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
ตามระเบียบของทางราชการที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าประชาชนจะได้รับข้อมูล จึงต้องมีการปรับ
กระบวนการเข้าถึงข้อมูลให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว แนวคิดการบัญญัติกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
ขึ้นมาใหม่จะต้องอธิบายให้ได้ว่ามีความแตกต่างจากบัญญัติที่กล่าวมาอย่างไร หากใช้เหตุผลว่า