Page 51 - kpiebook65055
P. 51
51
ท�าให้การอนุญาตโครงการที่จะก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศและส่งผลกระทบต่อประชาชนต้อง
รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งก็หมายความว่าประชาชน
จะต้องได้รับทราบข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เว้นแต่จะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า
นอกจากนั้น ในมาตรา 58 วรรค 2 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล
ค�าชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการด�าเนินการหรืออนุญาต”
การที่หน่วยงานรัฐผู้มีอ�านาจอนุญาตให้โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
ด�าเนินกิจการได้นั้น ถือว่าเป็นการออกค�าสั่งทางปกครองตามนิยามที่ของ “ค�าสั่งทางปกครอง” ที่ระบุอยู่ใน
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และตามมาตรา 30 ก�าหนดไว้ว่า ในกรณีที่
ค�าสั่งทางปกครองอาจกระทบสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริง
อย่างเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบรายละเอียดของโครงการต่างๆ
ที่หน่วยงานรัฐได้อนุญาตไป และมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จ�าเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกัน
สิทธิของตนได้ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
นอกจากนั้น ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เรื่อง ก�าหนดให้ข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามมาตรา 9 (8)
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2553 ระบุว่า ประชาชน
สามารถรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ สัญญา สัมปทาน ใบอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือการด�าเนิน
การที่มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพหรือสังคม รวมทั้งสัญญา สัมปทาน หรือใบอนุญาต
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วย จึงกล่าวได้ว่าประชาชนมีสิทธิตาม
กฎหมายที่จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตโครงการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
3.3.4 สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ประชาชนมีสิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐได้ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย โดย
รัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิดังกล่าวในมาตรา 51 ที่บัญญัติว่า “การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่
ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้น เป็นการท�าเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของ
ประชาชนและชุมชนที่จะติดตาม และเร่งรัดให้รัฐด�าเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชน หรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”
จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หากรัฐซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรา 57 (1) ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการ
คุ้มครองหรือบริหารจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ ประชาชนย่อมใช้สิทธิในการฟ้องร้องได้ และอาจ
กล่าวได้ว่า การฟ้องร้องคดีเป็นเครื่องมือที่ส�าคัญของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากอากาศที่ไม่สะอาด
ในกรณีของภาวะมลพิษทางอากาศนั้น ได้มีประชาชนฟ้องร้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ อ้างว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 59 แห่ง