Page 52 - kpiebook65055
P. 52
52 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นเหตุให้ประชาชนและผู้ฟ้องคดี
ซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากหมอกควัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ศาลต้องวินิจฉัยในประเด็นว่า การที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ไม่ประกาศให้ท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ล�าพูน และแม่ฮ่องสอน เป็นเขตควบคุมมลพิษ เป็นการละเลย
ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า ตามข้อเท็จจริงที่พื้นที่ดังกล่าว
มีแนวโน้มที่ร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อให้เกิดผลกระทบเสียหาย
ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องที่ ซึ่งสามารถประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อด�าเนินการควบคุม
ลด และขจัดมลพิษได้ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่ได้ประกาศให้ท้องที่ 4 จังหวัดดังกล่าวเป็นเขตควบคุมมลพิษ
จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย “เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายก�าหนดให้
ต้องปฏิบัติ” ศาลปกครองเชียงใหม่จึงสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติใช้อ�านาจตามมาตรา 59
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศให้ท้องที่จังหวัดเชียงใหม่
เชียงราย ล�าพูน และแม่ฮ่องสอน เป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อด�าเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ
จากค�าพิพากษาดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิ
ทางศาลเพื่อให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นกรณีเมื่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นแล้ว
ไม่ใช่มาตรการในเชิงป้องกัน แต่ก็เป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐด�าเนินการ
ปรับปรุงคุณภาพอากาศให้มีความสะอาดเพียงพอซึ่งปลอดภัยต่อการหายใจเข้าสู่ร่างกายได้
3.4 คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นหน่วยงานที่สามารถ
รับมือกับปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศได้อย่างเพียงพอหรือไม่
ประการแรกต้องพิจารณาอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้เสียก่อน เพื่อพิจารณาว่า
สามารถด�าเนินการอย่างไรบ้างกับปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศ เมื่อพิจารณาจากมาตรา 13 แห่ง
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จะพบว่า คณะกรรมการมีอ�านาจทั้ง
การก�าหนดนโยบายและให้ความเห็นชอบในการก�าหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับนโยบาย จะประกอบไปด้วย
• เสนอ “นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ” (มาตรา 13 (1))
• พิจารณาให้ความเห็นชอบ “แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม” (มาตรา 13 (3))