Page 57 - kpiebook65055
P. 57
57
3.7 สรุปการวิเคราะห์
ตามที่วิเคราะห์มาในหัวข้อ 3.1 ถึง 3.5 ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ประเทศไทยมีมาตรการต่างๆ
ที่รับรองสิทธิของประชาชนในการหายใจอากาศบริสุทธิ์ แม้จะไม่มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
ยืนยันถึงสิทธิดังกล่าวโดยตรง แต่เมื่อพิจารณาจากตัวบทกฎหมายและกลไกต่างๆ ที่อยู่ในกฎหมายทั้งใน
รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และอนุบัญญัติ อาจกล่าวได้ว่า ต่างมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งปรับปรุง ควบคุม
รักษาคุณภาพของอากาศ รายละเอียดและวิธีการที่จะท�าให้วัตถุประสงค์ดังกล่าวบรรลุผลแม้ในปัจจุบัน
จะยังไม่สอดคล้องหรือไม่มีมาตรการการควบคุมที่ทันสมัย แต่ก็ถือได้ว่ามีกรอบในทางกฎหมายที่วางหลักการ
เอาไว้อย่างชัดเจน ขาดแต่เพียงการก�าหนดรายละเอียดในกฎหมายล�าดับรองเท่านั้น ไม่จ�าเป็นที่จะต้อง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องอากาศสะอาดเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า
“รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ�าเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่หมดความจ�าเป็นหรือ
ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์” จากบทบัญญัติดังกล่าวท�าให้ต้องกลับมาพิจารณาว่าร่างกฎหมายอากาศ
สะอาดมีเนื้อความซ�้าซ้อนกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้วหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการด�าเนินการในทาง
กฎหมายเพื่อจัดการกับภาวะมลพิษทางอากาศ หรือมิเช่นนั้นแล้วก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการแก้ไขปัญหา
ภาวะมลพิษทางอากาศไม่สามารถด�าเนินการได้ด้วยการออกกฎหมายล�าดับรองที่ออกตามความใน
พระราชบัญญัติฉบับนี้หรือแม้แต่แก้ไขพระราชบัญญัติเอง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ายังมีหนทางในการแก้ไขปัญหา
ด้วยการปรับใช้ ปรับปรุง และออกกฎหมายใหม่โดยอาศัยฐานจากพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจากกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
และสิทธิของประชาชนให้มีอากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ