Page 47 - kpiebook65055
P. 47
47
ที่ก�าหนดว่า “บุคคลมีสิทธิในการด�ารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ”
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุชัดว่า มลพิษทางอากาศนั้นไม่เอื้อต่อการด�ารงชีพของมนุษย์และไม่เอื้อต่อ
สุขภาพอีกด้วย ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่า การที่กฎหมายไทยในปัจจุบันไม่มีการบัญญัติถ้อยค�าที่รับรองสิทธิ
ในอากาศสะอาดเอาไว้โดยตรง ไม่ได้ท�าให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิอื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับชีวิต ร่างกาย
สุขภาพอนามัยได้ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ได้ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนฟ้องร้อง
หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในเรื่องภาวะมลพิษทางอากาศต่อศาลปกครอง ดังจะได้กล่าวในล�าดับต่อไป
3.3 ประเทศไทยมีกฎหมายรับรองสิทธิอื่นใดอีกหรือไม่
ที่จะท�าให้ประชาชนใช้สิทธิเรียกร้องให้มีอากาศสะอาด
3.3.1 สิทธิที่จะได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
ภาวะมลพิษทางอากาศ
ตามกฎหมายแล้วประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
สิทธิดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองในกฎหมายระดับรัฐธรรมนูญและกฎหมายล�าดับรอง มาตรา 59 แห่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า “รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครอง
ของหน่วยงานของรัฐ ที่มิใช่ข้อมูลเก่ี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่
กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก” ด้วยอ�านาจแห่ง
บทบัญญัตินี้รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางช่องทาง
ต่างๆ ที่ประชาชนแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ ไม่ควรใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงทางใดทางหนึ่งเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะการรับรู้ข่าวสารของประชาชนแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกัน
นอกจากรัฐธรรมนูญแล้ว พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
รับรองสิทธิที่จะได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาวะมลพิษทางอากาศในมาตรา 6 เอาไว้ ดังนี้
“เพื่อประโยชน์ในการร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติ บุคคลอาจมีสิทธิและหน้าที่
ดังต่อไปนี้ (1) การได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารทางราชการในเรื่องเกี่ยวกับส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ”
ข้อมูลที่เกี่ยวกับภาวะมลพิษทางอากาศที่ประชาชนควรต้องรับรู้ ถือได้ว่า “ข้อมูลข่าวสาร”
ตามนิยามที่ก�าหนดอยู่ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และหาก
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานรัฐ ย่อมเป็น
“ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ที่ประชาชนไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามสามารถเข้าตรวจดู