Page 149 - kpiebook65043
P. 149

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  149
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เป็นระบอบแบบที่ตนต้องการ และก็อาจนำไปสู่การตรากฎหมาย
             ที่เอื้อต่อพวกพ้องตนเองอีก นอกจากนี้ ภาพที่อาจเกิดขึ้นอีกก็คือ ฝ่ายการเมืองที่แสวงหา
             อำนาจจำเป็นต้องพึ่งพาฝ่ายเศรษฐกิจเพื่อเป็นฐานอำนาจของตน ซึ่งจะกลายเป็นว่า
             ฝ่ายการเมืองเอาเศรษฐกิจมาเป็นพวกและทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม

             โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
             มากกว่าฝ่ายค้าน ซึ่งฝ่ายรัฐบาลมีอำนาจที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และจะทำให้
             กลุ่มเศรษฐกิจอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเดือดร้อน

                   ดังนั้น รัฐบาลในฐานะผู้นำที่ดีก็ควรสนับสนุนกลุ่มเศรษฐกิจทุกองคาพยพเพื่อให้

             เศรษฐกิจเดินไปได้ และรัฐบาลก็ควรมีบทบาทสำคัญในการประสานผลประโยชน์ของสังคม
             ซึ่งเมื่อสังคมเกิดความสงบ เศรษฐกิจก็จะเดินไปได้ และก่อให้เกิดการพัฒนาและความมั่งคั่ง
             ตามมา

             การถดถอยของประชาธิปไตยกับภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยและสัญญาประชาคม
             (ใหม่) ที่ต้องมีการทบทวน


                   เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า ภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป
             ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการประสบกับความถดถอยของประชาธิปไตยซึ่งมีที่มาจากหลายเหตุ

             ปัจจัยและยังถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก แต่เมื่อตั้งคำถามว่า จากจุดสูงสุด
             ของชัยชนะประชาธิปไตยเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นเหตุใดทุกวันนี้จึงกล่าวกันว่าประชาธิปไตย
             ถดถอย ? นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แสดงทัศนะให้เห็นว่า สาเหตุที่ประชาธิปไตยถดถอย
             ก็เนื่องมาจากมีการผูกเอาระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยไว้กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี

             แบบสุดโต่ง ผนวกกับการเกิดขึ้นของโลกาภิวัตน์ที่ทำให้มีการเปิดเสรี ก็ยิ่งส่งผลให้เกิด
             ความเหลื่อมล้ำในสังคม ในหลายประเทศเกิดความล้มเหลวของระบบตลาดจนนำไปสู่
             การผูกขาด ซึ่งเมื่อปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและการผูกขาดถูกรวมเข้ากับปัญหาการทุจริต
             คอร์รัปชันหรือการใช้อำนาจของรัฐในทางที่มิชอบแล้ว ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของ

             รัฐประหาร หรืออาจเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มอำนาจนิยม ประชานิยม หรือชาตินิยมแบบ
             สุดโต่ง เข้ามามีอำนาจในการปกครอง และส่งผลให้เกิดการสูญเสียประชาธิปไตยในท้ายที่สุด

                   ที่สำคัญ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ย่อมมีเหตุปัจจัยเสริม ในอดีตตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามเย็น
             ก็เป็นที่เชื่อกันมาตลอดว่าประเทศที่จะประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่ง

             จะต้องเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หรืออย่างน้อยต้องมีแนวโน้มที่จะเป็น        การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
             ประชาธิปไตย แต่การเกิดขึ้นของกรณีประเทศจีนทำให้โลกได้เห็นว่าประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์
             กลับมีขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดีกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความเชื่อ

             และประชาธิปไตยก็ยังถูกท้าทายด้วยวิกฤตอื่น ๆ เช่น การจัดการวิกฤตโรคระบาด หรือ
             การถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาโลกร้อน ฯลฯ และเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้น แต่ระบบ
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154