Page 151 - kpiebook65043
P. 151

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  151
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             การสร้าง “สัญญาประชาคม” ใหม่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน

                   ดังที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีสัญญาประชาคมใหม่แล้ว

             จะเห็นว่าข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกติกาใหม่ที่อาจจะทำได้ง่ายที่สุดคือ “การแก้ไข
             เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” แต่เมื่อดูจากปรากฏการณ์ที่สามารถเทียบเคียงกันได้ เช่น การขอแก้ไข
             เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะพบว่ากระบวนการพิจารณาเรื่องการขอแก้ไข
             มาตรา 112 นั้น แทบไม่มีการพูดคุยกันเพื่อหาสาเหตุปัญหาที่แท้จริงเลย ดังนั้น ในประเด็น

             เกี่ยวกับข้อเรียกร้องเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จึงได้เสนอว่าสิ่งแรกที่จะต้องเกิดขึ้นคือผู้นำ
             จะต้องเป็นฝ่ายเอื้อมเข้ามาในพื้นที่ของฝ่ายที่เรียกร้องต้องการความเปลี่ยนแปลงเสียก่อน
             โดยจะต้องเปิดพื้นที่ และลดการกระทำที่ทำให้อีกฝ่ายตีความว่าเป็นการข่มขู่คุกคาม

                   นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังได้กล่าวย้ำอีกว่าจะต้องมีการเปิดโอกาสให้จัดทำรัฐธรรมนูญ

             ฉบับใหม่ โดยในเบื้องต้นจะต้องมีการตกลงเรื่อง “กรอบพื้นฐาน” ของรัฐธรรมนูญเสียก่อน
             โดยจะต้องพิจารณาสองด้านสำคัญ คือ ด้านที่หนึ่ง จะต้องยึดหลักสากลของหลักการ
             ประชาธิปไตย เช่น การกำหนดเรื่องการรับรองและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และสอง จะต้อง

             พิจารณาบริบทของประเทศไทยทั้งบริบททางประวัติศาสตร์ และบริบททางสังคมปัจจุบัน เช่น
             ถ้าหากยอมรับร่วมกันว่าจะต้องมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
             ทรงเป็นประมุข ก็ต้องยอมรับร่วมกัน เป็นต้น และเมื่อได้กรอบข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันแล้ว
             ก็จะต้องเปิดกระบวนการและเปิดพื้นที่รับฟังความเห็นที่จะนำไปสู่ทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อ
             สร้างรัฐธรรมนูญที่ปรับโครงสร้างทางการเมืองประเทศไทย และการบริหารราชการแผ่นดิน

             ที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมในปัจจุบัน

                   ที่สำคัญ จะต้องมีการสร้างการเรียนรู้และหาทางออกร่วมกัน เช่น ยึดหลักประชาธิปไตย
             ว่าการเข้าสู่ตำแหน่งจะต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว จะแก้ไขปัญหาการ
             ใช้อำนาจในทางไม่ชอบอย่างไรและอาจนำสิ่งที่เรียนรู้ เช่น เคยมีการกำหนดให้รัฐสภาเป็น

             ผู้ตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจไม่ชอบแล้วก็ประสบกับความล้มเหลว และเคยกำหนด
             ให้การวินิจฉัยเรื่องนี้เป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการ แต่สุดท้ายก็มองว่าอาจจะไม่เหมาะสม
             หรือแม้แต่ลองให้อำนาจแก่องค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบประเด็นเหล่านี้ ก็ปรากฏว่าองค์กรอิสระนั้น

             ไม่ได้มีอิสระอย่างแท้จริง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นประเด็นที่นำมาคุยกันด้วยเหตุผล
             และวางประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของกลุ่มตนออกไปก่อน จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ
             การหันหน้าเข้าหากันเพื่อพูดคุยกัน และพยายามตกผลึกให้ได้ว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริง และ    การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
             การแก้ไขปัญหานั้น อย่างน้อยที่สุดควรจะต้องวางอยู่บนหลักการแค่ไหน และจะต้องปรับอะไร
             เพียงใดเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยโดยจะต้องยังคงอยู่บนหลักการสำคัญดังกล่าว

             เช่นเดิม
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156