Page 146 - kpiebook65043
P. 146
146 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
หนึ่ง ความท้าทายที่มาจากการเกิดขึ้นของโมเดลจีน ซึ่งท้าทายระบบความคิดที่เชื่อว่า
ระบบคิดของตะวันตกเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของโมเดลจีนไม่ได้ก่อให้เกิดความท้าทาย
ต่อระบบคิดของทั้งสองค่าย กล่าวคือ ในค่ายสังคมนิยมที่มีแนวคิดแบบมาร์กซ์ - เลนิน
จีนก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแนวคิดดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองของจีน และ
จีนก็ได้ปรับแนวคิดแบบมาร์กซ์ - เลนิน จนเกิดสังคมนิยมที่เป็นอัตลักษณ์ของจีน ส่วนในค่าย
เสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น การเมืองการปกครองแบบจีนก็ได้ท้าทายแนวคิดดังกล่าว โดยจีน
ได้อ้างว่าการปกครองของจีนเองเป็นประชาธิปไตยในรูปแบบหนึ่ง คือ ประชาธิปไตยแบบ
ปรึกษาหารือ และเป็นประชาธิปไตยที่นำไปสู่ความมั่งคั่งและความผาสุกของประชาชนซึ่งมี
เป้าหมายสำคัญคือการสร้างดุลยภาพระหว่างทุนและสังคม ซึ่งประเด็นความท้าทายนี้ บรรเจิด
เองเห็นว่าเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อยุคสมัยนี้มากว่าคำตอบของระบอบการเมืองการปกครองที่ดี
อาจจะไม่ได้อยู่ที่ตะวันตกแต่เพียงคำตอบเดียว เพราะจีนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ต้องมอง
สภาพสังคมวิทยาแต่ละประเทศ ซึ่งมีสภาพไม่เหมือนกันและไม่มีสูตรตายตัว”
สอง การแปลงข้อมูลไปสู่ดิจิทัล (Digitalization) ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย
เนื่องจากระบบดิจิทัลได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ความเปลี่ยนแปลง
ต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบข้อมูลสื่อมวลชน การติดต่อสื่อสาร ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
เช่น การบูรณาการข้อมูลของประชาชนให้เป็นฐานเดียวเพื่อให้บริการประชาชนแบบครบวงจร
ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งต่อไปอาจจะทำให้เกิดประชาธิปไตย
ในรูปแบบใหม่ คือ Digital Democracy ก็ได้
สาม การจัดโครงสร้างสถาบันทางการเมือง ซึ่งยังคงเป็นปัญหาตั้งแต่การเปิดเสรี
ครั้งที่หนึ่ง และยังคงมีสภาพเหมือนการจัดโครงสร้างสถาบันทางการเมืองยังไม่แล้วเสร็จ
สี่ เกิด “พลังของคนรุ่นใหม่” ที่ออกมาเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลง
การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนการเกิด
พรรคการเมืองที่มีแนวคิดแบบเดียวกับคนรุ่นใหม่ที่ได้กลายเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการ
นำข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่นี้เข้าสู่รัฐสภา
“พลังของคนรุ่นใหม่” : กระแสน้ำเชี่ยวกรากแห่งความท้าทายต่อภูมิทัศน์ทาง
การเมืองไทย
พลังของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันได้กลาย
เป็นความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกรัตน์
เลิศชูสกุล ได้แสดงให้เห็นว่าสังคมได้ค่อย ๆ เห็นพลังของคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ช่องทางเดียว (Single Gateway) และทำให้ประชาชนจำนวนร่วมแสนมาร่วมรณรงค์ว่าไม่เห็นด้วย
กับนโยบายดังกล่าวด้วยการรวบรวมรายชื่อในระบบออนไลน์ซึ่งทำให้รวบรวมรายชื่อได้อย่าง