Page 145 - kpiebook65043
P. 145

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  145
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ระบบการศึกษา (จากการศึกษาในวัดมาเป็นการศึกษาในโรงเรียน) ที่สำคัญคือ ทำให้ประเพณี
             และวัฒนธรรมบางอย่างที่ถูกวิจารณ์ว่าล้าสมัยในสายตาของโลกตะวันตกก็เกิดความเปลี่ยนแปลง
             เช่น การยกเลิกประเพณีการหมอบคลาน หรือการยกเลิกการลงโทษด้วยการเฆี่ยน เป็นต้น


                   ทั้งนี้ ในส่วนของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองนั้น หลังจากรัชสมัยของ
             รัชกาลที่ 4 ก็ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง ที่ทำให้เกิดหรือกระตุ้นให้เกิด
             ความเปลี่ยนแปลง คือ

                   หนึ่ง เหตุการณ์ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงร่วมกับเจ้านายอีก

             3 พระองค์และข้าราชการกลุ่มหนึ่งจากสถานทูตกรุงลอนดอนและกรุงปารีส รวม 7 คน
             ร่วมกันลงชื่อในหนังสือถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
             ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีข้อความทำนองว่าผู้ดำรงตำแหน่งทาง
             การเมืองที่สำคัญบางตำแหน่ง เช่น เสนาบดี ก็จะต้องเป็นผู้แทนของประชาชนซึ่งประชาชน

             จะเป็นผู้เลือก และต้องมีการเลือกขึ้นไปเป็นชั้น ๆ และเมื่อดำรงตำแหน่งแล้ว ก็จะต้อง
             รับผิดชอบต่อประชาชนด้วย

                   สอง เกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งถือเป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง
             การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย เนื่องจากนายทหาร

             และปัญญาชนกลุ่มหนึ่งไม่พอใจต่อการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และไม่พอใจกับ
             การบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                   ส่วนครั้งที่สามนั้น คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
             มาเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy หรือที่

             บางตำราแปลว่า “ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”) และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็น
             ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งการปฏิวัตินี้ได้เกิดขึ้นจาก “คณะราษฎร” และผลจาก
             การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก

                   นี่คือการเปิดเสรีครั้งแรกของประเทศไทย และตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน

             พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดผลพวงต่าง ๆ มากมาย ที่สำคัญ ได้แก่ หนึ่ง ผลที่เกิดขึ้น
             เกี่ยวกับดุลอำนาจและสถาบันทางการเมือง กล่าวคือ ยังเกิดการขาดดุลยภาพระหว่างอำนาจรัฐ
             อำนาจทุนและอำนาจทางสังคม ตลอดจนการจัดโครงสร้างสถาบันการเมืองของประเทศไทย

             ก็ยังไม่ค่อยลงตัว และสอง ปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ โดยประเทศไทยมีการประกาศใช้             การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
             รัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 20 ฉบับ และปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็ยังคงถือเป็นปัญหาที่วิกฤต
             ในระบบการเมืองไทยอยู่

                   จากนั้น ภูมิทัศน์การเมืองไทยก็ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยการเปิดเสรีครั้งที่สอง ซึ่งเป็น

             การเปิดเสรีที่ก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญสี่ประการ คือ
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150