Page 147 - kpiebook65043
P. 147
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 14
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
รวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วัน ในขณะนั้น กลุ่มคนที่เป็น “ผู้ใหญ่” อาจจะยังไม่เข้าใจวิธีการ
แสดงออกของกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ และหลังจากนั้นก็ยังมีปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้วิธีการ
ทางดิจิทัลเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อนโยบายของรัฐ เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกัน
กดปุ่ม F5 ที่ทำให้เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐจำนวนหนึ่งล่มภายในเวลาไม่กี่นาที และการ
แสดงออกเช่นนี้ก็ทำให้รัฐบาลยอมถอยนโยบายดังกล่าว ปรากฏการณ์นี้ทำให้เห็นว่าพลัง
ท้าทายใหม่ ๆ ได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้วและกลุ่มคนรุ่นเก่าก็แทบไม่รู้จักกลุ่มพลังรุ่นใหม่เหล่านี้เลย
ต่อมา กลุ่มพลังของคนรุ่นใหม่นี้ก็ได้สะท้อนให้เห็นจากผลของการเลือกตั้งในช่วงสามปี
ที่ผ่านมา แม้ว่าตอนแรกอาจจะมองว่ากลุ่มพลังของคนรุ่นใหม่นี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในขอบเขต
ที่จำกัดแค่โลกออนไลน์ แต่เมื่อถึงช่วงการเลือกตั้งก็จะพบว่ากลุ่มพลังคนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้
พยายามสร้างสถาบันทางการเมืองอย่างพรรคการเมือง และก็ประสบความสำเร็จในแง่ของ
การผลักดันข้อเรียกร้องของพวกเขาผ่านพรรคที่พวกเขาเลือก ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึง
ความพยายามเคลื่อนเข้าสู่โลกของการเมืองผ่านรัฐสภา และเมื่อเกิดการยุบพรรคการเมือง
ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เลือก ก็จะนำไปสู่การลุกขึ้นแสดงความไม่พอใจ
นอกจากนี้ กนกรัตน์ยังพยายามชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของการขยายตัวของ
กลุ่มมวลชนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ โดยอธิบายว่า ถ้าหากมองย้อนกลับไปในเหตุการณ์ช่วง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวในช่วง
พฤษภาทมิฬ รวมถึงการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปการเมืองใน พ.ศ. 2540 ตลอดจน
การเคลื่อนไหวของกลุ่มสีเสื้อ (เสื้อเหลืองและเสื้อแดง) เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเคลื่อนไหว
ผ่านแกนนำ โดยแกนนำจะเป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดหัวข้อและสร้างเครือข่าย
แต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ถือว่าเป็นมิติใหม่ที่เรียกว่า “movement” คือเริ่มจาก
กลุ่มเล็ก ๆ จำนวนมากมาย ซึ่งเป็นคนธรรมดาที่มีอายุน้อยทั้งในโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ
แม้แต่ในที่สาธารณะ และมีการสร้างเครือข่ายกันข้ามโรงเรียน ข้ามจังหวัด และข้ามภูมิภาค
จากนั้นก็จะเกิดการประสานงานผ่านสื่อออนไลน์ และเกิดการขยายตัวโดยใช้สื่อสมัยใหม่เข้ามา
ช่วยมากยิ่งขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การรวมตัวกันของกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่ ผนวกเข้ากับ
การใช้ดิจิทัลที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็น
ในประเทศไทยมาก่อน และเป็นรูปแบบที่ต่างจากการเคลื่อนไหวด้วยแกนนำในอดีต
คำถามที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือว่าเหตุใดกลุ่มคนรุ่นก่อนหรือผู้ใหญ่ จึงมองว่า
การแสดงออกของกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นความท้าทายของพวกเขา ? การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
รูปแบบการแสดงออกของคนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือ
การปฏิบัติการแบบเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนการตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เคยมี
มาก่อน ตั้งแต่การตั้งคำถามต่อความสัมพันธ์ของมนุษย์ ระบบการเมืองการปกครอง ตลอดจน
สถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อกลุ่มคนรุ่นก่อน นอกจากนี้ ท่าทีที่ดู
เหมือนจะไม่มีการประนีประนอมซึ่งแตกต่างจากการเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์ทาง