Page 150 - kpiebook65043
P. 150

150  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยยังมีลักษณะเป็นแบบรวมศูนย์เหมือนเดิม
           ก็ย่อมต้องมีปัญหาตามมาแน่นอน

                 ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกสำหรับความท้าทายของประเทศไทย ก็จะต้อง

           ยอมรับกันเสียก่อนว่าถ้าต้องการเดินไปข้างหน้าในด้านเศรษฐกิจ หรือการเมือง ก็จำเป็นต้องมี
           “การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” และแน่นอนว่าสิ่งที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เห็นก็คือโครงสร้างและระบบ
           ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังและความต้องการในอนาคตได้
           จึงเป็นที่มาของข้อเรียกร้องมากมายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อีกทั้งเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ
           แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) เทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว จะเห็นว่า
           มีความถดถอยมาก เพราะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่มีสิทธิ์มีเสียงเต็มที่ในการชี้อนาคต
           ของประเทศ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังมีลักษณะเป็นการเขียนบนพื้นฐานของวาระ

           ทางการเมือง หรือก็คือ แทนที่จะกำหนดกติกาบนพื้นฐานของหลักการหรือแก้ปัญหาโครงสร้าง
           เชิงระบบ กลับเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของกลุ่มเพื่อให้รักษาอำนาจได้และกีดกัน
           คนอีกกลุ่มออกไป ซึ่งทางออกในเรื่องนี้ก็คือเราต้องยอมรับร่วมกันว่า “เราปล่อยให้ประเทศ
           เดินไปแบบนี้ไม่ได้”


                 สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่ทำให้ต้องแสวงหา “สัญญาประชาคม” ฉบับใหม่ที่เกิด
           จากฉันทามติ เพื่อเรียกประชาธิปไตยคืนมา และขับเคลื่อนสังคมไทยไปข้างหน้าให้สอดคล้อง
           กับความต้องการทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมา เราอาจไม่เคยลองหาฉันทามติเพราะเราไม่เคย
           ประสบความสำเร็จกับการใช้กลไกในรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยมาแก้ไขปัญหา

           ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงได้ ทำให้เกิดการฉวยโอกาสของกลุ่มที่ก่อรัฐประหารและ
           ดึงอำนาจทางการเมืองกลับไปสู่ฝ่ายอำนาจนิยม และเมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญเพื่อเป็น
    การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
           กติกาสำหรับกลุ่มบุคคลและป้องกันการเกิดสถานการณ์บางอย่างมากกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญ
           เพื่อแก้ปัญหาในเชิงหลักการ ก็จะยิ่งทำให้กลุ่มที่แทบไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา

           เกิดความไม่พอใจและทำให้ความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้นจนไม่สามารถหาฉันทามติได้ ดังนั้น
           สิ่งสำคัญก็คือว่า ต้องยอมรับว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้น
           เกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะทำได้


           จากความท้าทายสู่โอกาสในการปรับภูมิทัศน์ทางการเมืองและ

           การพัฒนาประชาธิปไตยประเทศไทย

                 จากปัจจัยหลายมิติที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศไทย

           ที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าทุกปัจจัยจะก่อให้เกิดความท้าทาย แต่ในความท้าทายนั้นก็สร้างโอกาส
           ในการทบทวนที่สามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนมิติต่าง ๆ เพื่อปรับภูมิทัศน์ทางการเมืองไทย
           และก่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนได้ในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155