Page 154 - kpiebook65043
P. 154

154  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 1) การปรับเปลี่ยนของชนชั้นนำในสังคมไทย : โดยในการเปิดเสรีครั้งแรกการปรับเปลี่ยน
           เพื่อให้สังคมไทยได้อยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของการเปิดเสรีนั้น เกิดจากการปรับเปลี่ยน
           โครงสร้างของสังคมโดยชนชั้นนำในสังคมไทย (สถาบันพระมหากษัตริย์) ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นในทุก
           ประเทศ และนำมาสู่คำถามที่ว่า ในการเปิดเสรีครั้งที่สองนี้ ชนชั้นนำจะเห็นความเปลี่ยนแปลง

           หรือไม่ และจะเกิดการปรับตัวอย่างไร หรือจะต้องมีการปรับองคาพยพอย่างไรเพื่อให้
           สอดคล้องกับสภาพสังคม และความท้าทายนี้เองก็ได้สร้างโอกาสสำคัญในการให้ชนชั้นนำใน
           ยุคปัจจุบันได้หันไปเรียนรู้การปรับตัวของชนชั้นนำในอดีต เพื่อมองให้เห็นความเปลี่ยนแปลง

           และนำมาสู่การตัดสินใจร่วมกัน

                 2) การเปิดพลังสู่การสร้างสรรค์ : ในการเปิดเสรีครั้งที่สองนั้นได้ก่อให้เกิดพลัง
           การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่หลายอย่าง แต่ก็ถูกบริบทของวัฒนธรรมทางสังคมไทยและความคิด
           แบบอนุรักษ์นิยมกดทับหรือปิดไว้ คำถามสำคัญคือในวันนี้ สังคมไทยจะเลือกเอาพลัง

           ที่สร้างสรรค์นั้นมาใช้ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ หรือจะเลือกกดทับพลังเหล่านั้น
           อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเมื่อบริบทต่าง ๆ และความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้สร้างพลังขนาดใหญ่
           ก็ควรใช้โอกาสนี้ดึงพลังเหล่านั้นมาสร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่กดทับพลังเหล่านั้นไว้

                 3) ความเชื่อว่าตะวันตกเป็นศูนย์กลาง : ทุกวันนี้หลายคนยังเชื่อกรอบประชาธิปไตย

           แบบสั้น ๆ เหมือนของตะวันตกเพราะยังเห็นว่าตะวันตกเป็นศูนย์กลางความคิดทาง
           ประชาธิปไตย ทั้งที่มีการศึกษามากมายว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีแค่โลกตะวันตกเท่านั้น และ
           ประชาธิปไตยก็มีความหมายไกลกว่าการเลือกตั้ง โดยอาจหมายความไปถึงการทำให้ทุกคนมี
           ส่วนร่วมในการปกครองอย่างแท้จริง หรือการทำให้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือนำไปสู่การ

           ลดความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น คำถามสำคัญที่สร้างความท้าทาย คือ สังคมไทยจะสามารถหลุดจาก
           กรอบที่ถือว่าตะวันตกเท่านั้นเป็นศูนย์กลางของประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อ
    การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
           ว่าตะวันตกเป็นศูนย์กลางที่ถูกท้าทายนี้ ก็ถือเป็นโอกาสของสังคมไทยที่จะได้เรียนรู้
           ประชาธิปไตยอย่างรอบด้าน ดังนั้น ถ้าหากเราไม่ได้ยึดติดว่ามีเฉพาะทางแคบเพียงทางเดียว

           เท่านั้นที่จะนำไปสู่เป้าหมาย เราก็จะเรียนรู้ได้กว้างขึ้น และสามารถหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อ
           นำไปสู่เป้าหมายได้

                 4) การก้าวข้ามความขัดแย้งสู่การสร้างสรรค์ร่วมกัน : ในช่วงอดีตที่ผ่านมา เราจะเห็น
           ความแตกแยกของแนวคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างกันมาโดยตลอด เช่น ความแตกต่างของ

           สังคมนิยมคอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย และจุดนี้ก็ถือเป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความขัดแย้ง
           เช่นกัน ความท้าทายที่สำคัญตรงนี้ก็คือ จะทำอย่างไรเพื่อดึงดูดผู้ที่มีความเห็นต่างในเชิง
           อุดมการณ์เข้ามาร่วมกันพัฒนาประเทศได้ ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ความแตกแยกนี้ดำเนินต่อไป
           เรื่อย ๆ ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความแตกแยกกันสังคม

           ก็ควรถือโอกาสนี้สร้างการเรียนรู้ และนำไปสู่การแก้ไขเชิงอุดมการณ์ ซึ่งถือเป็นการสร้าง
           โอกาสที่ทำให้สังคมไทยได้พัฒนา
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159