Page 152 - kpiebook65043
P. 152
152 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
มองเจตนารมณ์ที่ดีของคนรุ่นใหม่ให้เป็นโอกาส : เปลี่ยนพลังงานน้ำเชี่ยวกราก
ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สร้างประโยชน์ในการขับเคลื่อนสังคม
การสร้าง “สัญญาประชาคมใหม่” ที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน ก็จำเป็นจะต้องรวม
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันหาฉันทามติ โดยทุกภาคส่วนในที่นี้ก็ย่อมรวมถึงคนรุ่นใหม่ด้วย
จากที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล ได้แสดงให้เห็นถึงกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่
ที่สร้างความท้าทายต่อภูมิทัศน์ประชาธิปไตยไทยเหมือนกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ซึ่งแม้ว่า
กลุ่มคนรุ่นก่อนหรือผู้ใหญ่จะพยายามลดทอนกำลังของกระแสน้ำนั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา
ที่มีผลเป็นการยับยั้งความเชี่ยวกรากของกระแสน้ำได้ก็จริง แต่กนกรัตน์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าการลดทอน
กำลังกระแสน้ำนั้นก็อาจทำให้พลาดโอกาสครั้งสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยไทยให้เป็น
ประชาธิปไตยแบบสากล หรืออาจจะพลาดโอกาสในการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ในหลายมิติก็ได้
ถ้าหากมองว่าการเรียกร้องของกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นมีรูปแบบและวิธีการที่รุนแรง กนกรัตน์
ก็เชิญชวนให้ทุกคนได้มองให้ลึกไปกว่าภาพและภาษาที่รุนแรงก้าวร้าว สิ่งที่หลงเหลืออยู่เมื่อ
ตัดรูปแบบและวิธีการเหล่านั้นออกไปแล้ว เราก็จะได้เห็นข้อเรียกร้องและความปรารถนาของ
กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนซึ่งก็คือประชาธิปไตยที่กลุ่มคนรุ่นก่อน
หรือผู้ใหญ่พยายามสร้างและรณรงค์มาแล้วเกือบ 4 ทศวรรษ นั่นคือ ประชาธิปไตยแบบมี
ส่วนร่วม หรือประชาธิปไตยที่มีการถกเถียงกันอย่างลุ่มลึกและกว้างขวางเหมือนประชาธิปไตย
ทางตรง (Direct Democracy) หรือกล่าวให้ถึงที่สุดก็คือ ข้อเรียกร้องของกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่
นั้น ก็ไม่ต่างจากข้อเรียกร้องที่กลุ่มคนรุ่นก่อนพยายามเรียกร้องมาตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยกับโลกที่เปลี่ยนแปลง หรือการพยายาม
สร้างพรรคการเมือง
การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
กลุ่มพลังคนรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนนี้ มีความเชื่ออย่าง
แท้จริงว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และพวกเขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าเช่นกันว่า
การเลือกตั้งและกลไกต่าง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะมีปัญหาอย่างไรก็ตาม มันก็ยัง
คงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับพวกเขา ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การรณรงค์เพื่อยก
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มีกลุ่ม iLaw และ Citizennet ร่วมรณรงค์และถกเถียงซึ่งก็ทำได้ดีมาก
และใช้ต้นทุนถูกมาก ๆ เราจึงอาจมองได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่พยายามผลักดัน
กระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ หรือเราอาจเห็นได้จากการพยายาม
ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการติดตามการอภิปรายในรัฐสภา ตลอดจนการใช้
พื้นที่บนถนนเป็นพื้นที่การเมือง (การชุมนุม) หรือแม้แต่การใช้พื้นที่สื่อเพื่อแสดงออกทาง
การเมือง เช่น Clubhouse
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นแน่นอน แต่ถ้าหากกลุ่มคนรุ่นก่อน
เลือกที่จะปิดประตู ก็จะเท่ากับปิดโอกาสในการพัฒนาที่อาจนำไปสู่การสร้างกลไกที่ทุกคน