Page 148 - kpiebook65043
P. 148

14   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           การเมืองที่ผ่านมา ทำให้รัฐและคนรุ่นก่อนรู้สึกว่ากำลังเผชิญกับความท้าทาย ซึ่งสิ่งที่ทำให้
           คนรุ่นก่อนหรือผู้ใหญ่รู้สึกว่าท้าทายก็มาจากมุมมองของผู้ใหญ่ที่มีต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่นั่นเอง
           กล่าวคือ คนรุ่นก่อนมีทัศนคติว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ยังคงเป็นเด็กที่ขาดประสบการณ์ ใจร้อน และ
           ไม่เข้าใจโลกของความเป็นจริง อีกทั้งยังมองว่าข้อเรียกร้องของกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นมีความเป็น

           อุดมคติ (idealistic) มากเกินไปและไม่มีทางเป็นไปได้ และทันทีที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมา
           สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง กลุ่มคนรุ่นก่อนก็จะมองว่าเป็นเรื่องของ
           ผลประโยชน์หรือเป็นเพราะถูกอิทธิพลของต่างชาติที่ได้รับผ่านสื่อต่าง ๆ หรือแม้แต่คิดว่า

           ถูกปัญญาชนรุ่นก่อนที่ไปอยู่ต่างประเทศครอบงำ แต่จะไม่คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นพลังของ
           กลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริงที่เป็นอิสระจากพรรคการเมืองและอิทธิพลต่าง ๆ

                 เมื่อคนรุ่นก่อนเลือกที่จะมองกลุ่มคนรุ่นใหม่เช่นนี้แล้ว ก็จะส่งผลต่อวิธีการจัดการ
           นั่นคือ คนรุ่นก่อนจะจัดการด้วยการเริ่มที่การตักเตือน ตำหนิ หรือตัดสินว่าถูกหรือผิด หรือ

           แม้แต่การใช้วิธีการลงโทษโดยการจับกุมคุมขังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังที่เราเห็นข่าว
           การจับกุมแกนนำการชุมนุม การใช้วิธีการลงโทษอาจทำให้ได้ผลในระยะสั้น ๆ นั่นคือ กลุ่มคน
           รุ่นก่อนอาจเห็นว่าสามารถควบคุมสิ่งที่ท้าทายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่สุดท้ายแล้ว
           การชุมนุมก็ไม่ได้หายไป กลับขยายตัวขึ้นเสียด้วยซ้ำ

           บทบาทของ “ผู้นำ” อีกหนึ่งกุญแจสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง


                 ในอีกมุมหนึ่ง ดร.สุพันธุ์ มงคลสุธี ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมือง
           การปกครองแบบใด ประชาธิปไตยหรือเผด็จการคอมมิวนิสต์ก็ตามก็ล้วนแล้วแต่มีทั้งจุดอ่อน
           และจุดแข็ง แต่การปกครองในระบอบนั้น ๆ จะให้ผลเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ หรือจะก่อให้เกิด

           การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงหรือไม่ ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับผู้นำทั้งสิ้น เพราะผู้นำจะเป็นผู้ที่
           สามารถสร้างความสามัคคีให้เกิดในชาติได้ และทำให้ความเห็นต่างในสังคมลดลงได้ และ
    การอภิปราย เรื่อง “ประชาธิปไตยไทยบนความท้าทายและโอกาส”
           เมื่อสังคมมีความสงบเรียบร้อยก็จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ ดังนั้น การมองว่าระบอบ
           ประชาธิปไตยแบบใดมีข้อบกพร่อง หรือมองว่ารัฐธรรมนูญยังมีข้อห่วงกังวลในการบังคับใช้

           แต่ถ้าหากได้ผู้นำที่ดี ผู้นำก็จะทำหน้าที่ปรับระบบเหล่านั้นให้เข้าที่ได้

                 ที่สำคัญ ผู้นำควรมีบทบาทสำคัญในการทำให้การเมืองและเศรษฐกิจสามารถเกื้อหนุน
           กันและเดินไปข้างหน้าด้วยกันได้ โดยทุกวันนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
           และการเมืองและส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางการเมืองก็คือความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดจาก

           ความเห็นต่างนี่เองทำให้เกิดการตัดสินว่าฝ่ายตนเองถูกและฝ่ายตรงข้ามผิด และเมื่อฝ่ายใด
           ได้มีอำนาจทางการเมืองแล้ว ก็จะเขียนกฎหมายเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายตนเองซึ่งจะทำให้
           ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงมากขึ้น

                 ผลจากความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนว่าในสังคมมีการแบ่งแยกเป็นฝ่าย

           และต่างฝ่ายต่างก็พยายามแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายของตนได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153