Page 21 - kpiebook65033
P. 21
20 ตัวชี้วัดหลักนิติธรรม
(1.1) ความหมายของ “หลักความมาก่อนของ
กฎหมาย” “หลักความมาก่อนของกฎหมาย” หมายความว่า การกระท�า
ของรัฐในรูปของบทบัญญัติของกฎหมายทั้งหลายอยู่ในล�าดับที่เหนือกว่า
การกระท�าของฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครองทั้งหลาย ดังนั้น การกระท�า
ของรัฐ (การกระท�าของฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครอง) ทั้งหลายจึงไม่อาจ
ขัดแย้งกับกฎหมายได้ หลักนี้เรียกร้องในทางปฏิเสธว่าการกระท�า
ของฝ่ายปกครองหรือมาตรการอันใดอันหนึ่งของฝ่ายปกครองจะขัดแย้ง
กับกฎหมายที่มีอยู่ไม่ได้ หากการกระท�าของฝ่ายปกครองหรือมาตรการ
อันใดอันหนึ่งขัดแย้งกับกฎหมาย การกระท�าทางปกครองหรือมาตรการ
ของฝ่ายปกครองนั้นย่อมเป็นการกระท�าหรือมาตรการที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย ซึ่งสามารถถูกยกเลิกเพิกถอนได้
“หลักความมาก่อนของกฎหมาย” เป็นหลักการ
ที่เชื่อมโยงกับหลักการจัดองค์กรดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น กล่าวคือ
ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย
จึงมีความชอบธรรมที่จะตรากฎหมายมาใช้บังคับในสังคมได้ และมีอ�านาจ
ในการตรากฎหมายจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ตามเงื่อนไข
ที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในขณะที่องค์กรฝ่ายปกครองเป็นองค์กร
ที่มิได้มีความเชื่อมโยงกับประชาชนโดยตรง แต่เป็นองค์กรที่มาจาก
การแต่งตั้งของฝ่ายบริหาร องค์กรฝ่ายปกครองจึงต้องถูกผูกพันต่อ
กฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย
ผลของความผูกพันต่อกฎหมายขององค์กร
ฝ่ายปกครองเป็นผลท�าให้การกระท�าทางปกครองเป็นการกระท�าที่ถูก
ควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรต่างๆ ที่มีอ�านาจในการตรวจสอบการกระท�า
ของฝ่ายปกครองได้และน�ามาสู่การยกเลิกเพิกถอนการกระท�าทางปกครอง