Page 18 - kpiebook65033
P. 18

17



                       2.3.2 หลักนิติธรรมในฐานะที่เป็น “เกณฑ์” ในการ
              ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหลักการที่ส�าคัญ ดังนี้

              (1) หลักความผูกพันต่อกฎหมายขององค์กรของรัฐ (2) หลักความชอบ
              ด้วยกฎหมายของการกระท�าของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
              (3) หลักความรับผิดของรัฐ


                       จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การพิจารณาหลักนิติธรรม (Rule

              of Law) ในฐานะที่เป็นหลักการย่อยของ “หลักธรรมาภิบาล” (good
              governance) จึงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกตามภารกิจของรัฐ

              ดังกล่าวแล้วข้างต้น เพราะหลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหลักที่มี
              ผลบังคับผูกพันโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งหมายความว่าย่อมมีผลท�าให้
              การกระท�าทั้งหลายที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) นั้น ย่อมเป็น

              การกระท�าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบ
              โดยองค์กรที่มีอ�านาจหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ ได้ เช่น การตรากฎหมาย

              ของฝ่ายนิติบัญญัติย่อมถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ
              การกระท�าของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองย่อมอยู่ภายใต้การควบคุม
              ตรวจสอบของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมแล้วแต่กรณี หรือหากเป็น

              การกระท�าในทางตุลาการย่อมอยู่ภายใต้การถูกควบคุมตรวจสอบได้
              โดยศาลที่เหนือกว่า หรืออาจสรุปได้ว่า “หลักนิติธรรม” นั้นมีสถานะเป็น

              หลักพื้นฐานของการปกครองและยังมีสถานะเป็นหลักพื้นฐานในทาง
              รัฐธรรมนูญด้วย การกระท�าใดๆ ของรัฐที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม/
              นิติรัฐ ย่อมเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญด้วยนั่นเอง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23