Page 14 - kpiebook65033
P. 14

13



              องค์กรของรัฐต่อหลักนิติธรรม (Rule of Law) นั้นย่อมมีความผูกพัน

              แตกต่างกันไปตามภาระหน้าที่ขององค์กรของรัฐแต่ละองค์กร กล่าวคือ
              ผูกพันการท�าภารกิจขององค์กรของรัฐเหล่านั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็น ภารกิจ
              ในทางนิติบัญญัติ, ภารกิจในทางบริหาร หรือภารกิจในทางตุลาการ

              ดังนั้น การผูกพันของหลักนิติธรรม (Rule of Law) ต่อองค์กรของรัฐ
              ที่ท�าภารกิจแตกต่างกันจึงผูกพันต่อหลักนิติธรรม (Rule of Law)

              ในลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ



              2.1 ภารกิจในทางนิติบัญญัติ หรือภารกิจในการตรากฎหมาย
              องค์กรที่ใช้อ�านาจในการตรากฎหมาย (legislative power) ก็คือองค์กร

              ที่ใช้อ�านาจของรัฐสภาในการตรากฎหมาย ลักษณะการใช้อ�านาจของ
              รัฐสภาในการตรากฎหมายจึงเป็นการวางกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็น

              การทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคม กฎหมายที่จะตราออกมาใช้
              บังคับกับบุคคลในสังคมจึงมีข้อจ�ากัดหลายประการที่รัฐสภาจะต้องค�านึง
              ถึงในการตรากฎหมายทั้งหลาย หากน�าหลักนิติธรรม/นิติรัฐในฐานะ

              ที่เป็น “เกณฑ์” ในการจ�ากัดอ�านาจรัฐดังที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อที่ 1
              มาพิจารณากับการท�าภารกิจในทางนิติบัญญัติแล้ว “เกณฑ์” ต่อไปนี้

              เป็น “เกณฑ์” ที่จะน�ามาใช้ภารกิจในการตรากฎหมาย


                       2.1.1  หลักนิติธรรมในฐานะที่เป็น “หลักความเป็นกฎหมาย
              สูงสุดของรัฐธรรมนูญ” หลักนิติรัฐในฐานะที่เป็นหลักการพื้นฐานของ

              รัฐธรรมนูญ จึงท�าให้หลักนิติรัฐเป็นส่วนหนึ่งของหลักความเป็นกฎหมาย
              สูงสุดของรัฐธรรมนูญไปด้วย ซึ่งมีหลักการส�าคัญ ดังนี้ (1) หลักว่าด้วย
              ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (2) หลักการควบคุมความชอบ

              ด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย (3) หลักความผูกพันต่อรัฐธรรมนูญของ
              องค์กรนิติบัญญัติ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19