Page 16 - kpiebook65033
P. 16

15



                       ความหมายของความผูกพันขององค์กรที่ท�าหน้าที่ในการตรา

              กฎหมายต่อหลักดังกล่าวข้างต้นหมายความว่า หากองค์กรนิติบัญญัติ
              ตรากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งขัดต่อหลักดังกล่าวข้างต้นย่อมมีผลเป็น
              การขัดต่อ “หลักนิตธรรม” และท�าให้กฎหมายฉบับนั้นขัดต่อ “หลักความ

              เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ” ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบ
              ของศาลรัฐธรรมนูญและหากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่ากฎหมาย

              ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญกฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลที่จะใช้บังคับได้



              2.2 ภารกิจในทางบริหาร หรือภารกิจในการบังคับใช้กฎหมาย
              องค์กรที่ใช้อ�านาจในการบังคับใช้กฎหมายคือองค์กรฝ่ายบริหาร (executive

              power) ซึ่งอาจแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ก. รัฐบาล (government) ซึ่งเป็น
              บุคลากรฝ่ายการเมือง และ ข. องค์กรฝ่ายปกครอง (administrative

              organs) ซึ่งเป็นบุคลากรฝ่ายประจ�า ภารกิจในการบังคับใช้กฎหมายเอง
              จึงเป็นภารกิจที่เป็นการใช้อ�านาจเหนือประชาชนหรือที่เรียกว่า “อ�านาจ
              มหาชน” เหตุผลที่องค์กรฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองมีอ�านาจเหนือ

              ประชาชนเพราะการกระท�าขององค์กรเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง
              “ประโยชน์สาธารณะ” แต่อย่างไรก็ตาม การท�าภารกิจของฝ่ายบริหารหรือ

              ฝ่ายปกครองนั้นมิได้มีลักษณะที่เป็นการใช้อ�านาจเหนือประชาชนเท่านั้น
              ภารกิจของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองจ�านวนไม่น้อยที่เป็นภารกิจ
              ในทางที่จะช่วยเหลือสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือ

              ในยามที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือเกิดจากโรคระบาด หรือการให้
              การช่วยเหลือสงเคราะห์ต่อผู้ยากไร้ เป็นต้น กล่าวโดยสรุป ภารกิจ

              ของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองจึงเป็นภารกิจที่เกี่ยวพันกับประชาชน
              ตั้งแต่เกิดจนตาย ลักษณะของการด�าเนินการมีลักษณะตั้งแต่การใช้อ�านาจ
              เหนือฝ่ายเดียวในการออกกฎเกณฑ์เพื่อใช้บังคับ จนไปถึงการออกค�าสั่ง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21