Page 20 - kpiebook65033
P. 20

19


              3.1 หลักนิติธรรม ที่น�ามาใช้กับองค์กรฝ่ายปกครอง

              หรือองค์กรที่จัดท�าบริการสาธารณะ


                       ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อที่ 2 ว่าการน�าหลักนิติธรรมมา

              ใช้กับอ�านาจรัฐนั้นจ�าเป็นจะต้องแยกตามภารกิจของรัฐ กล่าว ภารกิจ
              ในการตรากฎหมาย, ภารกิจในการบังคับใช้กฎหมาย หรือภารกิจในการ
              พิพากษาอรรถคดี ซึ่งตามหัวข้อนี้เป็นการน�าหลักนิติธรรมที่น�ามาใช้กับ

              ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครอง หรือภารกิจในการบังคับใช้กฎหมายนั่นเอง
              ส�าหรับ “เกณฑ์” ที่จะน�ามาใช้ภารกิจของฝ่ายบริหาร คือ หลักนิติธรรม

              ในฐานะที่เป็น “เกณฑ์” ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมี
              หลักการที่ส�าคัญ ดังนี้ 3.1.1 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระท�า
              ของฝ่ายปกครอง และ 3.1.2 หลักความรับผิดของรัฐ โดยมีข้อพิจารณา

              ดังนี้ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2561, น. 117 – น. 132)

                       3.1.1  หลักการกระท�าทางปกครองต้องความชอบด้วย

              กฎหมาย หลักการกระท�าทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายเป็น

              หลักการส�าคัญในทางกฎหมายปกครอง ซึ่งประกอบด้วยหลักส�าคัญ
              ดังนี้ (1) หลักความมาก่อนของกฎหมาย (2) หลักเงื่อนไขของกฎหมาย
              หรือหลักไม่มีกฎหมายไม่มีอ�านาจ (3) หลักการควบคุมความชอบด้วย

              กฎหมายของการกระท�าทางปกครอง

                            (1) หลักความมาก่อนของกฎหมาย ข้อพิจารณา

              เกี่ยวกับ “หลักความมาก่อนของกฎหมาย” มีข้อพิจารณา 2 ประการ
              คือ (1.1) ความหมายของ “หลักความมาก่อนของกฎหมาย” และ

              (1.2) ความหมายของ “กฎหมาย” ตามหลักนี้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25