Page 13 - kpiebook65033
P. 13
12 ตัวชี้วัดหลักนิติธรรม
2. หลักนิติธรรมในฐำนะเป็นหลักกำรย่อยของ
“หลักธรรมำภิบำล”
“หลักธรรมาภิบาล” (good governance) ประกอบด้วย
หลักการย่อย 6 หลัก คือ (1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) (2) หลักคุณธรรม
และจริยธรรม (Virtue and Ethics) (3) หลักความโปร่งใส (Transparency)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) (5) หลักส�านึกรับผิดชอบ (Account-
ability) และ (6) หลักความคุ้มค่า (Value for money) ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง
“หลักธรรมาภิบาล” (good governance) อาจให้ความหมายได้หลายมิติ
กล่าวคือ “หลักธรรมาภิบาล” (good governance) ในความหมายอย่างกว้าง
ย่อมหมายถึง หลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวกับภาครัฐโดยรวมทั้งหมด โดยไม่
จ�าแนกแยกแยะมาที่ภารกิจใดภารกิจหนึ่งของรัฐ หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
ของรัฐ หรืออาจให้ความหมายถึง “หลักธรรมาภิบาล” (good governance)
ในความหมายอย่างแคบที่หมายถึง หลักในการบริหารจัดการที่ดีในภารกิจ
ของรัฐด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือหลักการบริหารจัดการที่ดี
ขององค์กรของรัฐองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งย่อมมีรายละเอียด
ที่แตกต่างกันไปตามภารกิจขององค์กรของรัฐนั้นๆ
ข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นที่เกี่ยวกับ “หลักธรรมาภิบาล” (good
governance) ในความหมายอย่างกว้างหรือในความหมายอย่างแคบ
ดังกล่าวข้างต้นนั้น มีความส�าคัญอย่างโดยเฉพาะต่อการพิจารณาถึง
หลักนิติธรรม (Rule of Law) เพราะหลักนิติธรรม (Rule of Law)
ในฐานะที่เป็นหลักการย่อยของ “หลักธรรมาภิบาล” นั้น โดยที่
หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น หลักนิติธรรม (Rule of Law) โดยตัว
ของมันเองย่อมมีผลผูกพันต่อองค์กรของรัฐทั้งสิ้น แต่การผูกพันของ