Page 9 - kpiebook65033
P. 9
8 ตัวชี้วัดหลักนิติธรรม
เป็นข้อแตกต่างระหว่าง “หลักนิติธรรม” กับ “หลักนิติรัฐ” แต่การที่รัฐใดรัฐหนึ่ง
ใช้ระบบศาลหรือระบบกฎหมายเช่นใดย่อมไม่มีนัยส�าคัญว่ารัฐนั้นๆ
ไม่ถือ “หลักนิติธรรม” หรือ “หลักนิติรัฐ” สิ่งเหล่านี้จึงเป็นพัฒนาการ
ในทางกฎหมายของประเทศนั้นๆ ส่วนหลักการที่เป็นแก่นสาระส�าคัญ
ของนิติธรรมหรือนิติรัฐได้น�าไปสู่การรับรองคุ้มครองโดยกติการะหว่าง
ประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ หลักการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน, หลักไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย
หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เป็นต้น หลักการเหล่านี้ได้รับ
การยอมรับว่าเป็นหลักการพื้นฐานของบรรดารัฐเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมี
ความมุ่งหมายเพื่อจ�ากัดการใช้อ�านาจของรัฐและมุ่งคุ้มครองบุคคล
จากการใช้อ�านาจของรัฐทั้งหลาย ดังนั้น รัฐที่ปกครองโดยกฎหมายทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเรียกว่า “นิติธรรม” หรือ “นิติรัฐ” สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาระส�าคัญ
ที่ทุกฝ่ายล้วนยอมรับและเป็นเกณฑ์ส�าคัญของการใช้อ�านาจรัฐในแต่ละรัฐ
ของบรรดารัฐเสรีประชาธิปไตย
ระบบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ของไทยเป็นระบบที่วางพื้นฐาน
แนวความคิดแบบ “หลักนิติธรรม” ตาม “หลักนิติรัฐ” (Rechtsstaat) ของ
1
ระบบซีวิลลอว์ในภาคพื้นยุโรป ดังนั้น การตีความค�าว่า “หลักนิติธรรม”
ตามที่ปรากฏในมาตรา 3 วรรค 2 จึงต้องตีความไปในทิศทางดังกล่าว
ซึ่งย่อมหมายความว่า หลักนิติธรรมเป็นหลักการพื้นฐานส�าคัญของ
1 จากเหตุผลดังกล่าวในหนังสือของผู้เขียน ใน บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมาย
มหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จ�ากัดอ�านาจรัฐ, พิมพ์ครั้งที่ 2,
ส�านักพิมพ์วิญญูชน, กรุงเทพฯ 2561, จึงใช้ค�าว่า “หลักนิติธรรม/นิติรัฐ” ในความหมาย
ที่เป็นหลักการพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตย