Page 12 - kpiebook65033
P. 12
11
1.5 หลักนิติธรรมในฐานะที่เป็น “เกณฑ์” เกี่ยวกับโทษ
ทางอาญาและความรับผิดทางอาญา มีหลักการที่ส�าคัญ ดังนี้
(1) หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง (2) หลักการห้ามลงโทษซ�้า (3) หลัก
การรับผิดต่อการกระท�าของตนที่ควรแก่การต�าหนิ (4) หลักข้อสันนิษฐาน
เกี่ยวกับความเป็นผู้บริสุทธิ์ (5) หลักการห้ามการบังคับให้กล่าวร้าย
ตนเอง (6) หลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จ�าเลย (7) หลัก
การคุ้มครองผู้เสียหายในคดีอาญา (8) หลักการชดเชยค่าเสียหายให้แก่
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระท�าอันมิชอบของรัฐ
1.6 หลักนิติธรรมในฐานะที่เป็น “เกณฑ์” ในการตรากฎหมาย
มีหลักการที่ส�าคัญ ดังนี้ (1) หลักความได้สัดส่วนหรือหลักความพอสมควร
แก่เหตุ (2) หลักความมั่นคงของกฎหมาย (3) หลักห้ามมิให้กฎหมายมีผล
ย้อนหลัง (4) หลักความแน่นอนชัดเจนของกฎหมาย (5) หลักการคุ้มครอง
ความสุจริตของบุคคล
การสังเคราะห์สาระส�าคัญในฐานะที่เป็น “เกณฑ์” ในการตรวจสอบ
การกระท�าขององค์กรของรัฐดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการสังเคราะห์ที่มี
ความเห็นสอดคล้องกันในสาระส�าคัญหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียด
อาจมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่หากดูในความมุ่งหมายของหลักนิติรัฐแล้ว
หลักการย่อยที่นักกฎหมายมหาชนของเยอรมันเสนอนั้นล้วนแต่เป็น
หลักการที่มุ่งหมายเพื่อการจ�ากัดอ�านาจรัฐ ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นหลักการ
อันเป็นสาระส�าคัญของหลักนิติธรรมได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลักการย่อย
ของหลักนิติธรรม/นิติรัฐอาจมีลักษณะพลวัตร ซึ่งในอนาคตอาจมีหลักการ
ที่ส�าคัญอื่นๆ ยกสถานะมาเป็นหลักการส�าคัญในฐานะที่เป็นหลักการย่อย
ของหลักนิติธรรม/นิติรัฐได้ แต่หลักการเช่นว่านั้นจะต้องมีความแน่นอน
ชัดเจนว่าหลักการนั้นมีสาระส�าคัญอย่างไร มิใช่เป็นเพียงข้อเรียกร้อง
เพื่อให้เกิดกฎหมายที่ดี แต่ต้องเป็นหลักการที่หากละเมิดแล้วย่อมส่งผล
ต่อความสมบูรณ์ของกฎหมาย หรือการกระท�าของรัฐนั้นๆ