Page 327 - kpiebook65024
P. 327

326   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




                      จนถึงขนาดที่การใช้สิทธิมีส่วนร่วมดังกล่าวท�าได้ยากหรือไม่อาจเกิดขึ้น
                      ได้เลย ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม

                      ตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐได้ ทั้งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยเสริม
                      สร้างความเข้มแข็งทางการเมืองของประชาชน อันเป็นพื้นฐานในการ

                      สร้างและพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป

               ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากกลไกทางกฎหมายที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุม
        ตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐในปัจจุบัน พบว่าสามารถจ�าแนกประเภทของการควบคุม

        ตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้


                   3.1 การควบคุมตรวจสอบการใช้อ�านาจ

                           โดยองค์กรทางการเมือง


               การควบคุมตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยองค์กรทางการเมืองนั้น ถือเป็น
        การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครอง ซึ่งกลไก

        การควบคุมดังกล่าวจะถูกก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ โดยที่การปกครองระบอบ
        ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาเป็นระบบที่รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบ

        ซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอ�านาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ประกอบกับ
        รัฐธรรมนูญก�าหนดให้คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนการเข้าบริหาร

        ราชการแผ่นดิน หลักการดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า
        “รัฐสภา” ในฐานะเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอ�านาจหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบ

        การท�างานคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ว่าได้ด�าเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
        กฎหมายและนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือไม่นั่นเอง โดยกระบวนการควบคุม

        ตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยองค์กรทางการเมืองหรือรัฐสภานั้นจะปรากฏในหลาย
        รูปแบบ ดังนี้
   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332