Page 329 - kpiebook65024
P. 329
328 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
เป็นคณะกรรมาธิการและตั้งไว้ตลอดอายุของสภาโดยมีจ�านวนและคณะตามความจ�าเป็น
ในกิจการของสภานั้น และ “คณะกรรมาธิการวิสามัญ” อันหมายความถึง กรรมาธิการ
ที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น โดยมีจ�านวนตามที่
ที่ประชุมสภาก�าหนดประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ ซึ่งสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญขึ้นในกรณีที่เห็นว่ามีเหตุผลความจ�าเป็นในกิจการของสภา ซึ่งไม่อยู่ในขอบข่าย
ของคณะกรรมาธิการสามัญคณะหนึ่งคณะใด หรือเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับขอบข่าย
ความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการสามัญหลายคณะซึ่งควรจะได้รับฟังความคิดเห็น
จากผู้ที่มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และเมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิบัติ
หน้าที่เสร็จแล้วก็จะสลายตัวสิ้นสภาพไป และในการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ
ทั้งสองประเภทนั้น รัฐธรรมนูญได้ก�าหนดให้คณะกรรมาธิการมีอ�านาจเรียกเอกสาร
จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระท�า
หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ โดยได้รับเอกสิทธิตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับสมาชิกรัฐสภา
(3) การเปิดอภิปรายทั่วไป
กลไกนี้เป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่ส�าคัญและให้ผลที่เด็ดขาด
ตรงกับความหมายและความประสงค์ของการควบคุมฝ่ายบริหารที่สุด คือ การเปิด
อภิปรายเพื่อลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ กล่าวคือ
เป็นการน�าเอาหัวใจหรือแก่นส�าคัญของระบบรัฐสภา อันได้แก่ หลักการที่ว่า
คณะรัฐมนตรีจะบริหารราชการแผ่นดินอยู่ได้ก็ด้วยความไว้วางใจของสภามาใช้
เมื่อสภาสิ้นสุดความไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นก็ย่อมไม่อาจบริหาร
ราชการแผ่นดินต่อไปได้ การเปิดอภิปรายนี้บางครั้งก็เรียกว่า “กระทู้หมู่” เพราะเมื่อ