Page 119 - kpiebook65024
P. 119
118 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
3. นิยามความหมายของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(State Policy)
หยุด แสงอุทัย (2514: น. 242-243) กล่าวว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
หมายถึง หลักการส�าคัญแห่งนโยบายแห่งรัฐ (Directive Principle of State Policy)
เป็นหลักการใหญ่ ๆ แห่งนโยบายของรัฐ เช่น ในเรื่องการศึกษา รัฐมีหลักการ
แห่งนโยบายอย่างไร ส่วน “นโยบาย” เป็นวิถีทางที่จะบรรจุหลักการที่ได้วางไว้
โดยนัยนี้พรรคการเมืองต่าง ๆ อาจมีหลักการแห่งนโยบายหรือแนวนโยบาย
อย่างเดียวกัน แต่พรรคการเมืองอาจมีนโยบายคือวิถีทางที่จะให้เป็นไปตามหลักการ
หรือตามแนวนั้น ๆ แตกต่างกัน เช่น พรรคการเมืองชาตินิยมอาจมีนโยบายที่จะท�าให้
ชาติเข้มแข็งด้วยการมีทหารหรือศาสตราวุธ แต่พรรคการเมืองสังคมนิยมอาจมีนโยบาย
เพื่อชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ ลดก�าลังทหารและท�าสัญญาไม่รุกรานกัน
วิษณุ เครืองาม (2530: น. 323) กล่าวว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง
นโยบายหลักซึ่งก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นแนวทางที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตาม
บทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐและจะเขียนไว้เป็นหลักการ
กว้าง ๆ ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคการเมืองนั้นหรือรัฐบาล
นั้นจะก�าหนดนโยบายของรัฐบาล หรือกระท�าการให้เป็นการขัดแนวนโยบายแห่งรัฐมิได้
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2555: น. 1-2) กล่าวว่าแนวนโยบายแห่งรัฐ
หมายถึง แนวนโยบายหลักของรัฐหรือของประเทศ (State Policy) ไม่ใช่แนวนโยบาย
ของรัฐบาลคณะใดคณะหนึ่ง (Government Policy) โดยแนวนโยบายของรัฐบาล
จะเปลี่ยนไปได้ตามพรรคการเมืองและคณะรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ แต่
แนวนโยบายแห่งรัฐจะไม่ผันแปรไปตามพรรคการเมืองและคณะรัฐบาล แต่เป็นแนวทาง
ขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามและท�าให้เกิดขึ้นจริง