Page 124 - kpiebook65024
P. 124
123
และนโยบายพื้นฐานซึ่งก�าหนดภาระหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นแกนน�า
การสร้างประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมร่วมกัน
(4) แนวความคิดรัฐประชาชาติ เป็นแนวความคิดทางการเมืองเกี่ยวกับ
รัฐประชาชาติและรัฐธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มี
ความแพร่หลายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีรัฐเอกราชเกิดขึ้น
ใหม่จากการปลดแอกตนเองและได้รับการปลดปล่อยจากเจ้าอาณานิคม
เดิม ส่งผลให้รัฐพยายามเข้ามีบทบาทน�าในฐานะของผู้พิทักษ์รักษา
และคุ้มครองประโยชน์แห่งชาติและของประชาชนเสียเองจนท�าให้รัฐ
มีฐานะพิเศษเยี่ยงปิตุรัฐหรือรัฐบิดรที่คอยตัดสินใจและก�าหนดตนเอง
แทนประชาชน ท�าหน้าที่ช่วยปกป้องทั้งผลประโยชน์ทั่วไปของรัฐ
และผลประโยชน์ทั่วไปของประชาชนทั้งภายในและภายนอกรัฐด้วย
อนึ่ง รัฐกับรัฐบาล (State and Government) เป็นสิ่งที่ต้องแยกออกจากกัน
เนื่องจากรัฐบาลเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของรัฐเท่านั้น ดังนั้น นโยบายของรัฐกับ
นโยบายของรัฐบาลย่อมมีพื้นฐานและที่มาแตกต่างกัน กล่าวคือรัฐมีองค์ประกอบส�าคัญ
รวมกันคือ ประชากร อ�านาจอธิปไตย ดินแดน และรัฐบาล ขณะที่รัฐบาลเป็นที่รวมของ
คณะบุคคล พรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน
ตามวาระทางการเมือง มีการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในรูปแบบและเงื่อนไข
ใหม่ ๆ มีการแข่งขันและต่อสู้กับกลุ่มการเมืองอื่นที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายในการ
บริหารประเทศ รวมทั้งความไม่แน่นอนและความไม่ต่อเนื่องในการก�าหนดนโยบาย
นอกจากนี้ ในการจัดล�าดับความส�าคัญและความเร่งด่วนของนโยบาย รวมตลอดทั้ง
การมีสภาพบังคับของนโยบายหรือการสร้างกลไกและกระบวนการในการปฏิบัติ
ตามนโยบายนั้น หากไม่มีการแยกแยะระหว่างนโยบายของรัฐกับนโยบายของรัฐบาล
ออกจากกันก็อาจเป็นปัญหาส�าคัญในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากรัฐบาลมุ่งด�าเนินนโยบาย