Page 129 - kpiebook65024
P. 129
128 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
พัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
บทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐนั้น เจตนารมณ์ของการบัญญัติแนวนโยบาย
แห่งรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับแรกที่มีบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า
บทบัญญัติในหมวดนี้ ในมาตรา 54 มีไว้ “เพื่อเป็นแนวทางส�าหรับการตรากฎหมาย
และการบริหารราชการตามนโยบายดั่งก�าหนดไว้” โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่
ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ประสงค์จะให้เรื่องนี้เป็นไปตามหลักการที่ว่า ในขณะที่
รัฐธรรมนูญก�าหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
ในส่วนของรัฐเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อประชาชน ซึ่งหน้าที่ของรัฐนี้อาจแสดงออก
ด้วยนโยบายอย่างกว้างในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา
สาธารณสุข และการทหาร
ในขณะเดียวกันรัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีการหมุนเวียนกัน
เข้ามาต่างก็มีนโยบายของตนเองตามที่ได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ แต่นโยบายดังกล่าว
ไม่ได้มีความยั่งยืนหรือคงทนถาวร เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล นโยบาย
ของประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จึงสมควรที่จะมีนโยบายกลางของรัฐ
อันคงทนถาวรซึ่งไม่ว่ารัฐบาลชุดใดจะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินก็ตาม นโยบายเหล่านี้
ก็จะยังคงอยู่เสมือนหนึ่งเป็นเจตจ�านงของคนในประเทศร่วมกัน ซึ่งนโยบายกลางนี้
ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ใช้ค�าว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” และใช้ค�านี้เรื่อยมาจนถึง
พ.ศ. 2540 เปลี่ยนมาใช้ค�าว่า “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงชื่อ
หมวดนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการและวิธีการในประการส�าคัญคือ ต้องการจ�ากัด
ขอบเขต “แนวนโยบายแห่งรัฐ” ให้เหลือเฉพาะแนวนโยบายที่เป็นพื้นฐาน โดยค�านึง
ถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะสามารถด�าเนินการได้ (อมร รักษาสัตย์, 2541 : 83-87)