Page 130 - kpiebook65024
P. 130
129
ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495) และฉบับ พ.ศ. 2511
ยืนเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 แต่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 มาตรา
62 ระบุเจตนารมณ์แตกต่างออกไปว่า “เพื่อเป็นแนวทางส�าหรับการตรากฎหมายและ
การก�าหนดนโยบาย” อันแสดงถึงการเปลี่ยนจุดเน้นจาก “การบริหารราชการตาม
นโยบายที่ก�าหนด” มาเป็น “การก�าหนดนโยบาย” ซึ่งต่อมารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ .
2521, ฉบับ พ.ศ. 2534, ฉบับ พ.ศ. 2534/2538 และฉบับ พ.ศ. 2540 ก็ได้ยืนเจตนา
รมณ์ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517
แนวนโยบายแห่งรัฐในฉบับก่อน ๆ เป็นเพียงหลักการหรือจุดมุ่งหมายของ
นโยบายของรัฐเท่านั้น มิได้เป็นข้อบังคับว่าตัวนโยบายนั้นต้องกระท�าส�าเร็จตามนโยบายนั้น
หรือไม่ มิได้บังคับให้รัฐจะต้องปฏิบัติจัดท�าในทันทีทันใด รัฐจะท�าหรือไม่ท�าขึ้นอยู่กับ
ทรัพยากรและฐานะทางการเงินและความเป็นอยู่ของประเทศ ดังนั้น บทบัญญัติที่
เกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐในฉบับเก่า ๆ จะใช้ค�าว่า “รัฐพึงจะต้องท�า......” จึงไม่มี
ผลบังคับโดยกฎหมายเมื่อจะต้องกระท�าหรือไม่กระท�าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการบัญญัติค�าใหม่จาก
“รัฐพึงจะต้อง” เป็น “รัฐต้อง” ดังนั้น ในการบังคับใช้ต่าง ๆ ก็ยังเป็นการก�าหนดเพียง
เป็นแนวทางเท่านั้น (จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์, 2565)
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 และฉบับ พ.ศ.2550 ใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีลักษณะเป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไป
ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เหมือนที่ผ่านมา สภาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2540 ยังคงรักษา
ส่วนส�าคัญของสภาพบังคับที่ก�าหนดไว้เหมือนเดิม คือการใช้เป็นแนวทางในการตรา
กฎหมายและการก�าหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเดิมหากรัฐไม่ปฏิบัติ
ตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ประชาชนจะไม่สามารถน�ามาเป็นเหตุในการฟ้องร้องรัฐได้