Page 133 - kpiebook65024
P. 133
132 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ให้ชัดเจนว่าจะด�าเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนี้อย่างไรและในเรื่องใดบ้าง
ในแต่ละปีคณะรัฐมนตรีจะจัดท�าแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการ
และวิธีการในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีแผนกฎหมายที่แสดงว่าได้ด�าเนินการให้เกิดผล
จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยได้มีการก�าหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาเป็นเวลานาน
แล้วแม้จะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบก�าหนดแนวทาง
ในการตรากฎหมายและก�าหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลทุกชุด
ให้มีความต่อเนื่องกัน แม้รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนนี้มาโดยตลอด
ก็เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้าน และมีสภาพบังคับที่น�าไปสู่การปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิด
ผลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุด
บทบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีมาตรา 77
เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 นี้ เพื่อก�าหนดกรอบและ
หลักการส�าคัญในการตรากฎหมาย ตามแนวคิดที่ว่าไม่ควรมีกฎหมายเกินความจ�าเป็น
สิ่งใดที่สามารถด�าเนินการได้โดยไม่จ�าเป็นต้องมีกฎหมายก็ควรเลือกใช้วิธีนั้นก่อน
เมื่อก�าหนดให้มีการตรากฎหมายใหม่เท่าที่จ�าเป็นแล้ว รัฐต้องย้อนไปพิจารณากฎหมาย
ที่ใช้บังคับอยู่แล้วว่าหมดความจ�าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือเป็นอุปสรรค
ต่อการด�ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชนมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้
ยกเลิกหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเหล่านั้นเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาะที่เป็นจริง
ในปัจจุบัน และรัฐต้องด�าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวก
รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ที่จะ
ได้รับจากการตรากฎหมายนั้น ภาระที่จะเกิดกับประชาชน และค่าใช้จ่ายที่ประชาชน
จะต้องเสียไปในการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนั้นมีความคุ้มค่า
และมีความจ�าเป็นอย่างแท้จริง