Page 138 - kpiebook65024
P. 138

137





           ศรีวิทยา, 2560: 99-105) เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้หลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
           ภายใต้การปกครองระบบรัฐสภาคู่แบบเวสมินสเตอร์ (Westminster Parliamentary
           System) ของอังกฤษบนหลักการแบ่งแยกอ�านาจที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างรัฐสภา

           กับรัฐบาลและการทบทวนตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐโดยศาล (Judicial Review) จึงถือ

           เป็นรัฐธรรมนูญที่มีอิทธิพลต่อการบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ
           ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งประเทศในเอเชีย เช่น รัฐธรรมนูญอินเดีย รัฐธรรมนูญ
           แห่งสาธารณรัฐจีน (จีนคณะชาติ) รัฐธรรมนูญบังกลาเทศ รัฐธรรมนูญเนปาล และ

           รัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์ รวมถึงรัฐธรรมนูญไทย และประเทศในแอฟริกา เช่น รัฐธรรมนูญ

           กานา และรัฐธรรมนูญไนจีเรีย (Dermot Keogh and Andrew McCarthy, 1937
           ใน สุรพล ศรีวิทยา, 2560: 99-105)


                  แนวคิดหลักการแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่รัฐธรรมนูญไอร์แลนด์ ค.ศ.1937
           บัญญัติไว้ในหมวด 13 มาตรา 45 เรียกว่า “หลักการแนวนโยบายสังคม” (Directive
           Principles of Social Policy) มีลักษณะเป็นแนวนโยบายเฉพาะเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ

           และสังคมเท่านั้น ซึ่งรับรองระบบการค้าเสรีและกรรมสิทธิของเอกชนในทรัพย์สิน

           ที่ถูกควบคุมภายใต้ผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมทั้งก�าหนดให้ด�าเนินนโยบายเป็น
           ภาระหน้าที่ของรัฐในด้านต่าง ๆ ตามหลักการ 3 ประการ (1) ก�าหนดหลักการทาง
           เศรษฐกิจและสังคม โดยถือว่ารัฐมีหน้าที่ต้องดูแลให้หลักการเหล่านี้บรรลุผลจริงในทาง

           ปฏิบัติ เช่น การให้พลเมืองทั้งชายหญิงมีสิทธิที่จะมีปัจจัยเพียงพอส�าหรับการด�ารงชีพ

           รวมถึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพที่เหมาะสมและการตอบสนองความต้องการของตนใน
           ส่วนหลักการเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น (2) ก�าหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐในทางเศรษฐกิจ
           เช่น ให้รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการริเริ่มอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโดยเอกชน

           ก�าหนดให้รัฐพึงพยายามที่จะรักษาให้วิสาหกิจเอกชนต้องด�าเนินการเพื่อประกันความ

           มีประสิทธิภาพในการผลิตและการจัดจ�าหน่ายสินค้าและปกป้องสาธารณชนจาก
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143