Page 141 - kpiebook65024
P. 141
140 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
รัฐธรรมนูญไวมาร์ของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันประกอบด้วย
โครงสร้างสองส่วน ส่วนที่หนึ่งว่าด้วยโครงสร้างและภารกิจแห่งอาณาจักร ส่วนที่สอง
ว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานและหน้าที่ขั้นพื้นฐานของชนชาวเยอรมัน โดยส่วนที่ว่าด้วย
สิทธิและหน้าที่พื้นฐานของชาวเยอรมัน ตั้งแต่มาตรา 109 ถึงมาตรา 165 รวมทั้งสิ้น
57 มาตรานั้น (Oppenheimer H.) นอกจากจะบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพและหน้าที่
ของชาวเยอรมันแล้ว ยังมีบทบัญญัติที่ก�าหนดเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของรัฐแทรกอยู่ใน
มาตราต่าง ๆ ด้วย เช่น ในเรื่องสิทธิเสรีภาพทางการศึกษา มีแนวนโยบายการจัดการ
ศึกษา อ�านาจในการจัดการศึกษาและการจัดการศึกษาภาคบังคับ ในเรื่องของศาสนา
ก็ก�าหนดบทบัญญัติที่ได้ก�าหนดแนวนโยบายแยกออกจากศาสนา หรือในสิทธิเสรีภาพ
ด้านเศรษฐกิจก็มีการแทรกบทบัญญัติที่ก�าหนดแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐไว้ด้วย
โดยก�าหนดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการคุ้มครองแรงงาน การคุ้มครองความเป็นธรรม
ในการจ้างงาน การจัดหางานให้แก่ผู้ว่างงาน เป็นต้น (สุรพล ศรีวิทยา, 2560:
น. 106-110)
รัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ. 1919 เป็นรัฐธรรมนูญเยอรมนีฉบับแรกที่ได้บัญญัติ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นครั้งแรก โดยใช้ค�าว่า “หลักการของแนวนโยบายสังคม”
(Directive Principles of Social Policy) เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์ดังกล่าว
แต่ต่างกันตรงที่บัญญัติดังกล่าวสอดแทรกอยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของ
ประชาชนโดยมิได้บัญญัติแยกเป็นหมวดหนึ่งเป็นเอกเทศเช่นที่รัฐธรรมนูญไอร์แลนด์
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกที่บัญญัติแยกเป็นหมวดหนึ่งต่างหาก
ส่วนรัฐธรรมนูญไวมาร์ก็มีความส�าคัญอย่างยิ่งเช่นกัน เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญ
ฉบับแรกที่มีการบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐสอดแทรกไว้ในหมวดสิทธิเสรีภาพ
และหน้าที่ของประชาชน โดยให้รัฐมีบทบาทและภาระหน้าที่ทางเศรษฐกิจและสังคม
ตามกรอบแนวนโยบายดังกล่าว จึงถือเป็นต้นแบบเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์