Page 143 - kpiebook65024
P. 143
142 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ส่วนมาตรา 151-165 ได้ก�าหนดแนวนโยบายทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้
รัฐรับรองหลักกรรมสิทธิของเอกชน การพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรมในการจ้าง
แรงงานและการคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งสวัสดิการแรงงาน แต่เยอรมนีกลับเลือกไม่ให้
มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเฉกเช่นรัฐธรรมนูญไวมาร์ที่ได้บัญญัติ
“หลักการของแนวนโยบายสังคม”(Directive Principles of Social Policy) ไว้ใน
รัฐธรรมนูญเพราะต้องการให้ไปอยู่ในกฎหมายอื่น ถ้าบัญญัติแนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐอยู่ในรัฐธรรมนูญก็อาจจะเกิดการฟ้องร้องน�าคดีขึ้นสู่ศาลกันมากมาย เพราะ
ประชาชนสามารถอ้างแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่ารัฐมีหน้าที่เช่นนั้นตามที่ก�าหนด
บทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น รัฐธรรมนูญเยอรมนีฉบับปัจจุบันจึงเลือกที่จะไม่บัญญัติ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเอาไว้แต่บัญญัติให้มีสหพันธรัฐสังคมที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
และความเสมอภาคที่เปิดกว้างกว่าเพื่อเปิดโอกาสให้เป็นเรื่องของการตีความกันได้
รัฐธรรมนูญไวมาร์ของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญ
ฉบับแรกของโลกเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์ที่มีการก�าหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับ
แนวนโยบายแห่งรัฐเป็นภาระหน้าที่ของรัฐในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
และสังคม ซึ่งถือเป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายให้รัฐปฏิบัติตามเพื่อเสริมบทบัญญัติในส่วน
ของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้บรรลุผลขึ้นจริงแม้ว่าในทางปฏิบัติ
บทบัญญัติดังกล่าวในรัฐธรรมนูญไวมาร์นี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพบังคับดังที่กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ดี บทบัญญัติเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของรัฐที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ก็ได้เป็นต้นแบบให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกน�าไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติ
ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งมีลักษณะของการบัญญัติที่แตกต่างกันไป โดยบางประเทศ
ก็ได้บัญญัติไว้ในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับไวมาร์ของเยอรมนี
หรืออาจจะบัญญัติไว้เป็นหมวดหมู่แยกต่างหากเฉพาะหนึ่งหมวดก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้
ได้รับอิทธิพลมาจากรัฐธรรมนูญไวมาร์และรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์